messager
 
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี call ข้อมูลการติดต่อ
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
check_circle ประวัติจังหวัดสิงห์บุรี
ประวัติจังหวัดสิงห์บุรี ประวัติจังหวัดสิงห์บุรี สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ไว้ในสาสน์สมเด็จ ว่า ".........เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่า มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญ คือ พระนอนจักรสีห์ ใหญ่ยาวกว่าพระนอนองค์อื่น ๆ ในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำเมืองยะลา คือ พระกรขวาศอกยื่นไปทางด้านหน้า ไม่ทำงอพระกรตั้งขึ้นรับพระเศียร แบบพระนอนไทย เมืองสิงห์เรียกชื่อต่างๆ ดังนี้ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ ห่างแม่น้ำ เจ้าพระยา 200 เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึกลายเป็นเมืองอยู่ลับลี้......" ก็แสดงว่า สิงห์บุรีเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ มีอดีตยาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณมาเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัย ดังนี้ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบร่องรอยหลักฐานมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี บ้านบางวัว ตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน บ้านคู ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน คือ ขวานหิน แวดินเผา หินดุ ชิ้นส่วนกำไลสำริด เป็นต้น สมัยทวาราวดี พบหลักฐานที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี เป็นการตั้งถิ่นฐานแบบ "เมืองคูคลอง" มีแผนผังเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคูน้ำ คันดินล้อมรอบ โบราณวัตถุที่ขุดพบ เช่น ภาชนะดินเผา ลูกปัด แท่นหินบด แวดินเผา ตะคัน ฯลฯ ส่วนหนึ่ง จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตอินทร์บุรี ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเป็นสวนรุกขชาติและที่ตั้งหน่วยอนุรักษ์พันธุ์ไม้จังหวัดสิงห์บุรี เมืองวัดพระนอนจักรสีห์ ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง รูปแบบเมืองเป็นเมืองซ้อน มีเมืองชั้นในรูปค่อนข้างกลมและเมืองชั้นนอกล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมมน ไม่ปรากฏร่องรอย กำแพงเมือง (ที่ทำด้วยดินพูนสูง) แต่คูเมืองบางด้านยังปรากฏให้เห็น สิ่งที่พบคือ ลูกปัด แวดินเผา เศษภาชนะ ฯลฯ แหล่งโบราณคดีบ้านคีม ตำบลสระแจง อำเภอบางระจัน มีสภาพเป็นเนินดินรูปรี กว้าง 200 เมตร ยาว 500 เมตร มีคูน้ำขนาด กว้าง 5 เมตร สมัยสุโขทัย มีการค้นพบเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยตามวัดร้างและลำน้ำเจ้าพระยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่า ชุมชนต่าง ๆ นั้นมีความ สำคัญมากน้อยเพียงไร เพราะในช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองนั้น ได้มีอำนาจแผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมในบริเวณภาคกลางและ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฎเหตุการณ์ที่สำคัญคือ สมัยสมเด็จพระมหารามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ตั้งเมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองลูกหลวง เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เป็นเมืองหลานหลวง นอกจากนี้แล้วเมืองทั้งสามยังเป็นหัวเมืองชั้นใน และหัวเมือง ชั้นในหน้าด่าน รายทางด้านทิศเหนืออีกด้วย โดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านหลัก แสดงให้เห็นว่า เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี มีอยู่แล้วเมื่อตั้ง กรุงศรีอยุธยา ก่อนหน้านั้นเมืองทั้งสามอาจอยู่ในการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย ก็ได้ แต่ไม่ปรากฎแน่ชัดว่า เมืองทั้งสามสร้างขึ้นในสมัยไหน สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้จัดการปกครองใหม่ โดยกำหนด ให้หัวเมืองชั้นในเป็นเมืองจัตวา ดังนั้น เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี และเมืองสิงห์บุรี จึงเปลี่ยนเป็นเมืองจัตวา ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อปี พ.ศ. 2086 เมืองสิงห์เป็น เมืองที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาให้ทหารไป สืบข่าวเรืองศึกสงครามกับพม่า ขณะเดียวกัน ก็ได้ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองอินทร์บุรี เพื่อหยั่งเชิงดูข้าศึกอีกด้วย ดังปรากฎในพระราช พงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา สมับสมเด็จพระมหาธรรมราชา ในปี พ.ศ. 2110 หลังจากสมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพได้ไม่นาน พม่าก็ได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ครั้งนี้ พม่ายกกองทัพมาสองทาง คือ ทางเหนือมีพระเจ้าเชียงใหม่เป็นแม่ทัพ และทางตะวันตกมี พระยาพสิมเป็นแม่ทัพ แต่ทัพของพระยาพสิมถูกกองทัพ กรุงศรีอยุธยาตีแตกไปก่อน โดยที่ พระเจ้าเชียงใหม่ยังไม่ทราบ เมื่อกองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยกมาถึงเมืองชัยนาท ก็ให้แต่งทัพหน้า มาตั้งที่บางพุทรา ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายหลังคือ ตัวจังหวัดสิงห์บุรี ปี พ.ศ. 2308 สมัย สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ในขณะที่พม่าตั้งค่ายล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกัน ต่อสู้กับพม่า ที่บ้านบางระจัน เมืองสิงห์บุรี ซึ่งมีผู้นำสำคัญของชาวบ้าน และปรากฎชื่อ คือ 1. พระอาจารย์ธรรมโชติ 2. นายแท่น 3. นายโชติ 4. นายอิน 5. นายเมือง 6. นายทองแก้ว 7. นายดอก 8. นายจันหนวดเขี้ยว 9. นายทองแสงใหญ่ 10. นายทองเหม็น 11. ขุนสรรค์ 12. พันเรือง โดยชาวบ้านบางระจันได้ต่อสู้กับพม่า และสามารถเอาชนะกองทัพพม่าได้ถึง 7 ครั้ง จนถึงครั้งที่ 8 ชาวบ้านบางระจันจึงพ่ายแพ้ ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าทั้งสิ้น 5 เดือน คือ ตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 สมัยกรุงธนบุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองสิงห์บุรี ขึ้นกับกรุงธนบุรี ในประชุมพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงสำเนา ท้องตรา พ.ศ. 2316 เกณฑ์ผู้รักษาเมืองสิงห์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี ยกทัพไปสกัดข้าศึกด้านตะวันออก และคุมพรรคพวก ซ่องสุมกำลังยกไปขุดคูเลนพระนครเมืองธนบุรี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานที่ปรากฎคือพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เข้าอยู่ในมณฑลกรุงเก่า (รัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) และปี พ.ศ. 2439 ยุบเมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี เป็นอำเภอขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี พร้อมกับตั้งเมืองสิงห์บุรีขึ้นใหม่ที่ตำบลบางพุทรา ส่วนเมืองสิงห์บุรีเดิมยุบเป็นอำเภอ สิงห์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบางระจัน ปีพ.ศ.2444อำเภอเมืองสิงห์บุรีเปลี่ยนเป็นอำเภอบางพุทราและในปี พ.ศ.2481 ทางราชการสั่งให้เปลี่ยนชื่อที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเมืองให้เป็นชื่อของจังหวัดนั้น ๆ อำเภอบางพุทราจึงได้กลับไปใช้ชื่ออำเภอเมืองสิงห์บุรีมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากหลักฐานที่ปรากฎ สิงห์บุรีเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่ง ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ริมลำน้ำจักรสีห์ ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง ต่อมาได้มีการย้ายเมืองไปอยู่ที่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน้อยบริเวณใต้วัดสิงห์สุทธาวาสและย้ายมาอยู่ที่ปากบางนกกระทุงตำบลต้นโพธิ์ ต่อมาในปี 2439 ได้ย้ายไปอยู่ที่ตำบลบางพุทรา สิงห์บุรีแม้จะเป็นจังหวัดเล็กๆ แต่ก็เป็นดินแดนประวัติศาสตร์ที่เคยเป็นสมรภูมิรบที่ห้าวหาญของสายเลือดไทยที่เด็ดเดี่ยวสามารถใช้ กลยุทธ์และหัวใจที่เสียสละเพื่อชาติ ปกป้องแผ่นดินไว้เพื่อลูกหลานไทย แม้จะเสียเลือด เสียเนื้อ จนหยดสุดท้าย จากห้วงเวลาของการสู้รบและเหนี่อยยาก มาถึงยุคสมัยของพระพุทธเจ้าหลวง(ร.5) ทรงเสด็จ ประพาสเมืองสิงห์ ชาวบ้านได้มีโอกาสปรุงอาหารถวาย ต้นเครื่อง-แม่ครัว ในยุคนั้นได้สืบทอดวิชาการปรุงอาหารรสเลิศเกิดเป็น ตำนานแม่ครัวหัวป่าเมืองสิงห์ จวบจนปัจจุบัน ภูมิปัญญาในการหาเครื่องปรุงไม่ว่าจะเป็นพืช ผักกุ้ง ปู ปลา ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น ความอุดมสมบูรณ์ของลำน้ำหลายสายเชื่อมโยงการดำเนินชีวิตของชาวบ้านริมน้ำเป็นวิถีชิวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการกิน การอยู่ การเลี้ยงชีพด้วยการเกษตร จนได้ชื่อว่า "แดนดินแห่งแม่น้ำสามสาย" นอกจากจะปรากฏร่องรอยของตำนาน นักรบไทย เรื่องราวในอดีตยังได้กล่าวถึงความเชื่อความศรัทธา ในพระพุทธศาสนาที่เป็นศูนย์กลางการยึดเหนี่ยวจิตใจ นักรบ และชาวบ้านให้เกิดการฮึกเหิม ตั้งมั่น เด็ดเดี่ยว ปรากฏเป็นวัดวาอารามเก่แก่ เกจิอาจารย์ชื่อดัง ตลิดจนโบราณสถานทรงคุณค่าให้ประชาชนสักการะตลอด ริมแม่น้ำที่สร้างมาร่วมสมัยตั้งแต่เมื่อครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเผยแพร่พระพุทธศาสนามายังสุวรรณภูมิให้เราได้สืบค้นเพื่อเรียนรู้ถึงความเป็นไป ที่เปลี่ยนแปลงตามอดีต หลากหลายเชื้อชาติที่พลัดถิ่นจากสงครามเดินทางมาตั้งหลักปักฐานกลายเป็นชนพื้นบ้านในแถบ อ.พรหมบุรี หรือชาวลาวเวียง ชาวลาว บ้านแป้ง ต้นกำเนิด ประเพณีกำฟ้า ประเพณีต่างๆที่มีความคล้ายคลึงกันตามแถบลุ่มน้ำกลายเป็นความสัมพันธ์ทางสายเลือดที่ผสมผสานสืบทอด...มาจนถึงปัจจุบัน ประวัติชาวบ้านบางระจัน
จังหวัดสิงห์บุรีรอปรับปรุง
ประวัติจังหวัดสิงห์บุรี
ประวัติจังหวัดสิงห์บุรี

ประวัติจังหวัดสิงห์บุรี สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ไว้ในสาสน์สมเด็จ ว่า ".........เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่า มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญ คือ พระนอนจักรสีห์ ใหญ่ยาวกว่าพระนอนองค์อื่น ๆ ในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำเมืองยะลา คือ พระกรขวาศอกยื่นไปทางด้านหน้า ไม่ทำงอพระกรตั้งขึ้นรับพระเศียร แบบพระนอนไทย เมืองสิงห์เรียกชื่อต่างๆ ดังนี้ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ ห่างแม่น้ำ เจ้าพระยา 200 เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึกลายเป็นเมืองอยู่ลับลี้......" ก็แสดงว่า สิงห์บุรีเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ มีอดีตยาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณมาเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัย ดังนี้ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบร่องรอยหลักฐานมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี บ้านบางวัว ตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน บ้านคู ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน คือ ขวานหิน แวดินเผา หินดุ ชิ้นส่วนกำไลสำริด เป็นต้น สมัยทวาราวดี พบหลักฐานที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี เป็นการตั้งถิ่นฐานแบบ "เมืองคูคลอง" มีแผนผังเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคูน้ำ คันดินล้อมรอบ โบราณวัตถุที่ขุดพบ เช่น ภาชนะดินเผา ลูกปัด แท่นหินบด แวดินเผา ตะคัน ฯลฯ ส่วนหนึ่ง จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตอินทร์บุรี ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเป็นสวนรุกขชาติและที่ตั้งหน่วยอนุรักษ์พันธุ์ไม้จังหวัดสิงห์บุรี เมืองวัดพระนอนจักรสีห์ ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง รูปแบบเมืองเป็นเมืองซ้อน มีเมืองชั้นในรูปค่อนข้างกลมและเมืองชั้นนอกล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมมน ไม่ปรากฏร่องรอย กำแพงเมือง (ที่ทำด้วยดินพูนสูง) แต่คูเมืองบางด้านยังปรากฏให้เห็น สิ่งที่พบคือ ลูกปัด แวดินเผา เศษภาชนะ ฯลฯ แหล่งโบราณคดีบ้านคีม ตำบลสระแจง อำเภอบางระจัน มีสภาพเป็นเนินดินรูปรี กว้าง 200 เมตร ยาว 500 เมตร มีคูน้ำขนาด กว้าง 5 เมตร สมัยสุโขทัย มีการค้นพบเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยตามวัดร้างและลำน้ำเจ้าพระยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่า ชุมชนต่าง ๆ นั้นมีความ สำคัญมากน้อยเพียงไร เพราะในช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองนั้น ได้มีอำนาจแผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมในบริเวณภาคกลางและ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฎเหตุการณ์ที่สำคัญคือ สมัยสมเด็จพระมหารามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ตั้งเมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองลูกหลวง เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เป็นเมืองหลานหลวง นอกจากนี้แล้วเมืองทั้งสามยังเป็นหัวเมืองชั้นใน และหัวเมือง ชั้นในหน้าด่าน รายทางด้านทิศเหนืออีกด้วย โดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านหลัก แสดงให้เห็นว่า เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี มีอยู่แล้วเมื่อตั้ง กรุงศรีอยุธยา ก่อนหน้านั้นเมืองทั้งสามอาจอยู่ในการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย ก็ได้ แต่ไม่ปรากฎแน่ชัดว่า เมืองทั้งสามสร้างขึ้นในสมัยไหน สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้จัดการปกครองใหม่ โดยกำหนด ให้หัวเมืองชั้นในเป็นเมืองจัตวา ดังนั้น เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี และเมืองสิงห์บุรี จึงเปลี่ยนเป็นเมืองจัตวา ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อปี พ.ศ. 2086 เมืองสิงห์เป็น เมืองที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาให้ทหารไป สืบข่าวเรืองศึกสงครามกับพม่า ขณะเดียวกัน ก็ได้ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองอินทร์บุรี เพื่อหยั่งเชิงดูข้าศึกอีกด้วย ดังปรากฎในพระราช พงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา สมับสมเด็จพระมหาธรรมราชา ในปี พ.ศ. 2110 หลังจากสมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพได้ไม่นาน พม่าก็ได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ครั้งนี้ พม่ายกกองทัพมาสองทาง คือ ทางเหนือมีพระเจ้าเชียงใหม่เป็นแม่ทัพ และทางตะวันตกมี พระยาพสิมเป็นแม่ทัพ แต่ทัพของพระยาพสิมถูกกองทัพ กรุงศรีอยุธยาตีแตกไปก่อน โดยที่ พระเจ้าเชียงใหม่ยังไม่ทราบ เมื่อกองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยกมาถึงเมืองชัยนาท ก็ให้แต่งทัพหน้า มาตั้งที่บางพุทรา ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายหลังคือ ตัวจังหวัดสิงห์บุรี ปี พ.ศ. 2308 สมัย สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ในขณะที่พม่าตั้งค่ายล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกัน ต่อสู้กับพม่า ที่บ้านบางระจัน เมืองสิงห์บุรี ซึ่งมีผู้นำสำคัญของชาวบ้าน และปรากฎชื่อ คือ 1. พระอาจารย์ธรรมโชติ 2. นายแท่น 3. นายโชติ 4. นายอิน 5. นายเมือง 6. นายทองแก้ว 7. นายดอก 8. นายจันหนวดเขี้ยว 9. นายทองแสงใหญ่ 10. นายทองเหม็น 11. ขุนสรรค์ 12. พันเรือง โดยชาวบ้านบางระจันได้ต่อสู้กับพม่า และสามารถเอาชนะกองทัพพม่าได้ถึง 7 ครั้ง จนถึงครั้งที่ 8 ชาวบ้านบางระจันจึงพ่ายแพ้ ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าทั้งสิ้น 5 เดือน คือ ตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 สมัยกรุงธนบุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองสิงห์บุรี ขึ้นกับกรุงธนบุรี ในประชุมพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงสำเนา ท้องตรา พ.ศ. 2316 เกณฑ์ผู้รักษาเมืองสิงห์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี ยกทัพไปสกัดข้าศึกด้านตะวันออก และคุมพรรคพวก ซ่องสุมกำลังยกไปขุดคูเลนพระนครเมืองธนบุรี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานที่ปรากฎคือพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เข้าอยู่ในมณฑลกรุงเก่า (รัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) และปี พ.ศ. 2439 ยุบเมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี เป็นอำเภอขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี พร้อมกับตั้งเมืองสิงห์บุรีขึ้นใหม่ที่ตำบลบางพุทรา ส่วนเมืองสิงห์บุรีเดิมยุบเป็นอำเภอ สิงห์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบางระจัน ปีพ.ศ.2444อำเภอเมืองสิงห์บุรีเปลี่ยนเป็นอำเภอบางพุทราและในปี พ.ศ.2481 ทางราชการสั่งให้เปลี่ยนชื่อที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเมืองให้เป็นชื่อของจังหวัดนั้น ๆ อำเภอบางพุทราจึงได้กลับไปใช้ชื่ออำเภอเมืองสิงห์บุรีมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากหลักฐานที่ปรากฎ สิงห์บุรีเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่ง ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ริมลำน้ำจักรสีห์ ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง ต่อมาได้มีการย้ายเมืองไปอยู่ที่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน้อยบริเวณใต้วัดสิงห์สุทธาวาสและย้ายมาอยู่ที่ปากบางนกกระทุงตำบลต้นโพธิ์ ต่อมาในปี 2439 ได้ย้ายไปอยู่ที่ตำบลบางพุทรา สิงห์บุรีแม้จะเป็นจังหวัดเล็กๆ แต่ก็เป็นดินแดนประวัติศาสตร์ที่เคยเป็นสมรภูมิรบที่ห้าวหาญของสายเลือดไทยที่เด็ดเดี่ยวสามารถใช้ กลยุทธ์และหัวใจที่เสียสละเพื่อชาติ ปกป้องแผ่นดินไว้เพื่อลูกหลานไทย แม้จะเสียเลือด เสียเนื้อ จนหยดสุดท้าย จากห้วงเวลาของการสู้รบและเหนี่อยยาก มาถึงยุคสมัยของพระพุทธเจ้าหลวง(ร.5) ทรงเสด็จ ประพาสเมืองสิงห์ ชาวบ้านได้มีโอกาสปรุงอาหารถวาย ต้นเครื่อง-แม่ครัว ในยุคนั้นได้สืบทอดวิชาการปรุงอาหารรสเลิศเกิดเป็น ตำนานแม่ครัวหัวป่าเมืองสิงห์ จวบจนปัจจุบัน ภูมิปัญญาในการหาเครื่องปรุงไม่ว่าจะเป็นพืช ผักกุ้ง ปู ปลา ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น ความอุดมสมบูรณ์ของลำน้ำหลายสายเชื่อมโยงการดำเนินชีวิตของชาวบ้านริมน้ำเป็นวิถีชิวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการกิน การอยู่ การเลี้ยงชีพด้วยการเกษตร จนได้ชื่อว่า "แดนดินแห่งแม่น้ำสามสาย" นอกจากจะปรากฏร่องรอยของตำนาน นักรบไทย เรื่องราวในอดีตยังได้กล่าวถึงความเชื่อความศรัทธา ในพระพุทธศาสนาที่เป็นศูนย์กลางการยึดเหนี่ยวจิตใจ นักรบ และชาวบ้านให้เกิดการฮึกเหิม ตั้งมั่น เด็ดเดี่ยว ปรากฏเป็นวัดวาอารามเก่แก่ เกจิอาจารย์ชื่อดัง ตลิดจนโบราณสถานทรงคุณค่าให้ประชาชนสักการะตลอด ริมแม่น้ำที่สร้างมาร่วมสมัยตั้งแต่เมื่อครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเผยแพร่พระพุทธศาสนามายังสุวรรณภูมิให้เราได้สืบค้นเพื่อเรียนรู้ถึงความเป็นไป ที่เปลี่ยนแปลงตามอดีต หลากหลายเชื้อชาติที่พลัดถิ่นจากสงครามเดินทางมาตั้งหลักปักฐานกลายเป็นชนพื้นบ้านในแถบ อ.พรหมบุรี หรือชาวลาวเวียง ชาวลาว บ้านแป้ง ต้นกำเนิด ประเพณีกำฟ้า ประเพณีต่างๆที่มีความคล้ายคลึงกันตามแถบลุ่มน้ำกลายเป็นความสัมพันธ์ทางสายเลือดที่ผสมผสานสืบทอด...มาจนถึงปัจจุบัน ประวัติชาวบ้านบางระจัน
จังหวัดสิงห์บุรี

รอปรับปรุง
check_circle ข้อมูลจังหวัดสิงห์บุรี
ข้อมูลจังหวัดสิงห์บุรีที่ตั้งและอาณาเขต จังหวัดสิงห์บุรีตั้งอยู่ทางภาคกลางตอนบน ระหว่างเส้นละติจูด ๑๔ องศา ๔๓ ลิปดา ถึง ๑๕ องศา ๖ ลิปดาเหนือ เส้นลองติจูดที่ ๑๐๐ องศา ๑๑ ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๑๔๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๘๒๒.๔๗๘ ตารางกิโลเมตร หรือ ๕๑๔,๐๔๙ ไร่ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่ออำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท และอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ทิศตะวันออก ติดต่ออำเภอบ้านหมี่ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ทิศใต้ ติดต่ออำเภอไชโย อำเภอโพธิ์ทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ทิศตะวันตก ติดต่ออำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท และอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และมีแม่น้ำน้อยไหลผ่านบริเวณตอนใต้ของจังหวัดเหมาะสำหรับการทำกสิกรรม สิงห์บุรีเป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น ซึ่งเกิดตะกอนการทับถมของตะกอนริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเวลานาน มีแม่น้ำไหลผ่าน ๓ สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และแม่น้ำลพบุรี นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสายอื่นๆ คือ ลำแม่ลา ลำการ้อง ลำเชียงราก และลำโพธิ์ชัย ไม่มีพื้นที่เป็นภูเขา ป่าไม้ และไม่มีร่าตุที่สำคัญ ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ฤดูฝน ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม - ตุลาคม ฤดูหนาวตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน - มกราคม การคมนาคม จังหวัดสิงห์บุรี มีทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงจังหวัดสามารถเดินทางได้โดยสะดวก ถนนสายหลักที่สำคัญได้แก่ ๑. หมายเลข ๓๒ สายเอเชียแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนคร- ศรีอยุธยา ผ่านจังหวัดอ่างทอง ถึง จังหวัดสิงห์บุรี ๒. หมายเลข ๓๐๙ สายอ่างทอง - ชัยนาท เป็นเส้นทางที่เริ่มต้นจากกรุงเทพฯ ผ่านพระนครศรีอยุธยา -อ่างทอง – สิงห์บุรี - ชัยนาท 1.หมายเลข ๓๑๑ สายลพบุรี - สิงห์บุรี เชื่อมต่อจากทางหลวง ๓๐๙ ที่จังหวัดสิงห์บุรี 2.หมายเลข ๑๑ จากอำเภออินทร์บุรี - พิษณุโลก เป็นเส้นทางผ่านอำเภอตากฟ้า อำเภอหนองบัวจังหวัดนครสวรรค์ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 3.หมายเลข ๓๐๓๙ สายสุพรรณบุรี - สิงห์บุรี โดยผ่านเส้นทางด้านอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เข้าทางอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี นอกจากนี้ยังมีเส้นทางแยกจากทางหลวง การบริการรถโดยสารประจำทางของจังหวัดสิงห์บุรี มีให้บริการ ๒ ประเภท คือ รถโดยสารปรับอากาศ ชั้น ๒ และรถโดยสารปรับอากาศ ชั้น ๑ ซึ่งมีเส้นทางหลัก คือ กรุงเทพ - สิงห์บุรี , กรุงเทพ - อำเภอวัดสิงห์ และกรุงเทพ - อำเภอหันคา ซึ่งผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ประชาชน จากประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ มีราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี รวม ๒๑๓,๒๑๖ คน แยกเป็นชาย จำนวน ๑๐๑,๗๔๓ คน และหญิง จำนวน ๑๑๑,๔๗๓ คน การเกษตร จังหวัดสิงห์บุรีมีพื้นที่ทั้งหมด ๕๑๔,๐๔๙ ไร่ มีพื้นที่อยู่ในเขตชลประทาน ๔๒๙,๕๑๒ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๕๕ ของพื้นที่จังหวัด โดยพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในเขตชลประทาน มีการใช้พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด ๔๑๔,๒๓๒ ไร่ (ร้อยละ ๘๐.๕๘) จำแนกเป็นที่นา ๓๗๕,๖๖๓ ไร่ (ร้อยละ ๘๑.๐๓) พื้นที่ปลูกพืชไร่ ๑๐,๓๐๗ ไร่ (ร้อยละ ๒.๔๙) พื้นที่สวน ๒๕,๕๔๒ ไร่ (ร้อยละ ๖.๑๗) พื้นที่เลี้ยงสัตว์ ๙๒๑ ไร่ (ร้อยละ ๐.๒๒) และพื้นที่ประมงเพาะเลี้ยง ๑,๗๙๙ ไร่ (ร้อยละ ๐.๔๓) เขตการปกครอง จังหวัดสิงห์บุรีแบ่งการปกครองออกเป็น ๖ อำเภอ ๔๓ ตำบล ๓๖๔ หมู่บ้าน ๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ๒ เทศบาลเมือง ๖ เทศบาลตำบล และ ๓๓ องค์การบริหารส่วนตำบล ดังแสดงในตาราง แหล่งที่มาของข้อมูล : จังหวัดสิงห์บุรี เมษายน ๒๕๕๖
ข้อมูลการประมง การผลิตประมง เป็นแหล่งผลิตด้านประมงน้ำจืดที่สำคัญจังหวัดหนึ่งในภาคกลางและยังเป็นแหล่งผลิตปลาช่อนแม่ลาที่มีชื่อเสียง เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยที่สุด ปี ๒๕๕๔ มีครัวเรือนที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จำนวน ๑,๗๗๒ ครัวเรือน รวม ๒,๔๐๓ บ่อ คิดเป็นเนื้อที่ ๑,๘๗๘.๔๑ ไร่ จำนวน ๗๓๐ กระชัง คิดเป็นเนื้อที่ ๑๕.๖๐ ไร่ แหล่งที่มาของข้อมูล : จังหวัดสิงห์บุรี เมษายน ๒๕๕๖ อุตสาหกรรม ในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ (สะสม) ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ จำนวนทั้งสิ้น ๒๗๑ โรงงาน เงินลงทุนรวม ๑๖,๙๔๘.๖๖๓ ล้านบาท และมีจำนวนคนงาน ๑๓,๓๒๒ คน อุตสาหกรรม สาขาอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด ๓ อันดับแรกของจังหวัดสิงห์บุรี คือ 1.อุตสาหกรรมอโลหะ ประกอบด้วยการผลิต แปรรูปหินแกรนิต และหินอ่อน เป็นหลักรองลงมาได้แก่ ผลิตคอนกรีตมวลเบา ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ และผลิตอิฐดินเผา ปัจจุบันมีโรงงานทั้งสิ้น ๕๑ โรงงาน เงินลงทุน ๓,๔๙๔ ล้านบาท คนงาน ๑,๖๑๘ คน 2.อุตสาหกรรมกระดาษ ประกอบด้วย การผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นหลัก รองลงมาได้แก่ ผลิตกระดาษชนิดต่างๆ ปัจจุบันมีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น ๒ โรงงาน เงินลงทุน ๓,๒๔๐ ล้านบาท คนงาน ๕๑๒ คน 3.อุตสาหกรรมพลาสติก ประกอบด้วยการผลิตทำของใช้จากพลาสติก และผลิตพลาสติกทุกชนิดรองลงมาได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติก หรือ เคลือบด้วยพลาสติก และทำขวดพลาสติกบรรจุยา ปัจจุบันมีดรงงานทั้งสิ้น ๑๓ โรงงาน เงินลงทุน ๓,๑๗๑ ล้านบาท คนงาน ๘๔๐ คน แหล่งที่มาของข้อมูล : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสิงห์บุรี พฤษภาคม ๒๕๕๗
ตารางแสดงจำนวนปศุสัตว์รอปรับปรุง
การปศุสัตว์ตารางแสดงจำนวนปศุสัตว์ (ตัว) จำแนกเป็นรายอำเภอ พ.ศ. ๒๕๕๖ แหล่งที่มาของข้อมูล : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสิงห์บุรี มิถุนายน ๒๕๕๖
ตาราง แสดงเขตการปกครองรอปรับปรุง
ข้อมูลจังหวัดสิงห์บุรี
ข้อมูลจังหวัดสิงห์บุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต จังหวัดสิงห์บุรีตั้งอยู่ทางภาคกลางตอนบน ระหว่างเส้นละติจูด ๑๔ องศา ๔๓ ลิปดา ถึง ๑๕ องศา ๖ ลิปดาเหนือ เส้นลองติจูดที่ ๑๐๐ องศา ๑๑ ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๑๔๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๘๒๒.๔๗๘ ตารางกิโลเมตร หรือ ๕๑๔,๐๔๙ ไร่ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่ออำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท และอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ทิศตะวันออก ติดต่ออำเภอบ้านหมี่ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ทิศใต้ ติดต่ออำเภอไชโย อำเภอโพธิ์ทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ทิศตะวันตก ติดต่ออำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท และอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และมีแม่น้ำน้อยไหลผ่านบริเวณตอนใต้ของจังหวัดเหมาะสำหรับการทำกสิกรรม สิงห์บุรีเป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น ซึ่งเกิดตะกอนการทับถมของตะกอนริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเวลานาน มีแม่น้ำไหลผ่าน ๓ สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และแม่น้ำลพบุรี นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสายอื่นๆ คือ ลำแม่ลา ลำการ้อง ลำเชียงราก และลำโพธิ์ชัย ไม่มีพื้นที่เป็นภูเขา ป่าไม้ และไม่มีร่าตุที่สำคัญ ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ฤดูฝน ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม - ตุลาคม ฤดูหนาวตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน - มกราคม การคมนาคม จังหวัดสิงห์บุรี มีทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงจังหวัดสามารถเดินทางได้โดยสะดวก ถนนสายหลักที่สำคัญได้แก่ ๑. หมายเลข ๓๒ สายเอเชียแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนคร- ศรีอยุธยา ผ่านจังหวัดอ่างทอง ถึง จังหวัดสิงห์บุรี ๒. หมายเลข ๓๐๙ สายอ่างทอง - ชัยนาท เป็นเส้นทางที่เริ่มต้นจากกรุงเทพฯ ผ่านพระนครศรีอยุธยา -อ่างทอง – สิงห์บุรี - ชัยนาท 1.หมายเลข ๓๑๑ สายลพบุรี - สิงห์บุรี เชื่อมต่อจากทางหลวง ๓๐๙ ที่จังหวัดสิงห์บุรี 2.หมายเลข ๑๑ จากอำเภออินทร์บุรี - พิษณุโลก เป็นเส้นทางผ่านอำเภอตากฟ้า อำเภอหนองบัวจังหวัดนครสวรรค์ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 3.หมายเลข ๓๐๓๙ สายสุพรรณบุรี - สิงห์บุรี โดยผ่านเส้นทางด้านอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เข้าทางอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี นอกจากนี้ยังมีเส้นทางแยกจากทางหลวง การบริการรถโดยสารประจำทางของจังหวัดสิงห์บุรี มีให้บริการ ๒ ประเภท คือ รถโดยสารปรับอากาศ ชั้น ๒ และรถโดยสารปรับอากาศ ชั้น ๑ ซึ่งมีเส้นทางหลัก คือ กรุงเทพ - สิงห์บุรี , กรุงเทพ - อำเภอวัดสิงห์ และกรุงเทพ - อำเภอหันคา ซึ่งผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ประชาชน จากประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ มีราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี รวม ๒๑๓,๒๑๖ คน แยกเป็นชาย จำนวน ๑๐๑,๗๔๓ คน และหญิง จำนวน ๑๑๑,๔๗๓ คน การเกษตร จังหวัดสิงห์บุรีมีพื้นที่ทั้งหมด ๕๑๔,๐๔๙ ไร่ มีพื้นที่อยู่ในเขตชลประทาน ๔๒๙,๕๑๒ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๕๕ ของพื้นที่จังหวัด โดยพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในเขตชลประทาน มีการใช้พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด ๔๑๔,๒๓๒ ไร่ (ร้อยละ ๘๐.๕๘) จำแนกเป็นที่นา ๓๗๕,๖๖๓ ไร่ (ร้อยละ ๘๑.๐๓) พื้นที่ปลูกพืชไร่ ๑๐,๓๐๗ ไร่ (ร้อยละ ๒.๔๙) พื้นที่สวน ๒๕,๕๔๒ ไร่ (ร้อยละ ๖.๑๗) พื้นที่เลี้ยงสัตว์ ๙๒๑ ไร่ (ร้อยละ ๐.๒๒) และพื้นที่ประมงเพาะเลี้ยง ๑,๗๙๙ ไร่ (ร้อยละ ๐.๔๓) เขตการปกครอง จังหวัดสิงห์บุรีแบ่งการปกครองออกเป็น ๖ อำเภอ ๔๓ ตำบล ๓๖๔ หมู่บ้าน ๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ๒ เทศบาลเมือง ๖ เทศบาลตำบล และ ๓๓ องค์การบริหารส่วนตำบล ดังแสดงในตาราง แหล่งที่มาของข้อมูล : จังหวัดสิงห์บุรี เมษายน ๒๕๕๖
ข้อมูล

การประมง การผลิตประมง เป็นแหล่งผลิตด้านประมงน้ำจืดที่สำคัญจังหวัดหนึ่งในภาคกลางและยังเป็นแหล่งผลิตปลาช่อนแม่ลาที่มีชื่อเสียง เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยที่สุด ปี ๒๕๕๔ มีครัวเรือนที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จำนวน ๑,๗๗๒ ครัวเรือน รวม ๒,๔๐๓ บ่อ คิดเป็นเนื้อที่ ๑,๘๗๘.๔๑ ไร่ จำนวน ๗๓๐ กระชัง คิดเป็นเนื้อที่ ๑๕.๖๐ ไร่ แหล่งที่มาของข้อมูล : จังหวัดสิงห์บุรี เมษายน ๒๕๕๖ อุตสาหกรรม ในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ (สะสม) ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ จำนวนทั้งสิ้น ๒๗๑ โรงงาน เงินลงทุนรวม ๑๖,๙๔๘.๖๖๓ ล้านบาท และมีจำนวนคนงาน ๑๓,๓๒๒ คน อุตสาหกรรม สาขาอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด ๓ อันดับแรกของจังหวัดสิงห์บุรี คือ 1.อุตสาหกรรมอโลหะ ประกอบด้วยการผลิต แปรรูปหินแกรนิต และหินอ่อน เป็นหลักรองลงมาได้แก่ ผลิตคอนกรีตมวลเบา ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ และผลิตอิฐดินเผา ปัจจุบันมีโรงงานทั้งสิ้น ๕๑ โรงงาน เงินลงทุน ๓,๔๙๔ ล้านบาท คนงาน ๑,๖๑๘ คน 2.อุตสาหกรรมกระดาษ ประกอบด้วย การผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นหลัก รองลงมาได้แก่ ผลิตกระดาษชนิดต่างๆ ปัจจุบันมีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น ๒ โรงงาน เงินลงทุน ๓,๒๔๐ ล้านบาท คนงาน ๕๑๒ คน 3.อุตสาหกรรมพลาสติก ประกอบด้วยการผลิตทำของใช้จากพลาสติก และผลิตพลาสติกทุกชนิดรองลงมาได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติก หรือ เคลือบด้วยพลาสติก และทำขวดพลาสติกบรรจุยา ปัจจุบันมีดรงงานทั้งสิ้น ๑๓ โรงงาน เงินลงทุน ๓,๑๗๑ ล้านบาท คนงาน ๘๔๐ คน แหล่งที่มาของข้อมูล : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสิงห์บุรี พฤษภาคม ๒๕๕๗
ตารางแสดงจำนวนปศุสัตว์

รอปรับปรุง
การปศุสัตว์

ตารางแสดงจำนวนปศุสัตว์ (ตัว) จำแนกเป็นรายอำเภอ พ.ศ. ๒๕๕๖ แหล่งที่มาของข้อมูล : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสิงห์บุรี มิถุนายน ๒๕๕๖
ตาราง แสดงเขตการปกครอง

รอปรับปรุง
check_circle วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์ พันธกิจ และภารกิจตามกฏหมายจัดตั้งหน่วยรับงบประมาณ และโครงสร้างของหน่วยรับงบประมาณรอปรับปรุง
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์ พันธกิจ และภารกิจตามกฏหมายจัดตั้งหน่วยรับงบประมาณ และโครงสร้างของหน่วยรับงบประมาณ

รอปรับปรุง
account_balance โครงสร้าง อบจ.สิงห์บุรี
โครงสร้าง อบจ.สิงห์บุรี.



check_circle อำนาจหน้าที่ของ อบจ.
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ถูกจัดตั้งขึ้นทุกจังหวัด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๔๙๘ เพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย สภาจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัด ต่อมา ได้ปรับปรุงบทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้สอดคล้องกันและปรับปรุงโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ได้มีการตราพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยกำหนดให้พื้นที่จังหวัดเป็นพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด มีผู้บริหารสูงสูด คือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นผู้ปกครองและบังคับบัญชาข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในปัจจุบันเป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๒ กำหนดให้มีหน่วยการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งเรียกว่า "องค์การบริหารส่วนจังหวัด" โดยอยู่ในทุกจังหวัด ๆ ละ ๑ แห่ง รวม ๗๕ แห่ง มีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีพื้นที่รับผิดชอบทั่วทั้งจังหวัด โดยทับซ้อนกับพื้นที่ของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น คือ เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนั้น ความเป็นนิติบุคคลก่อให้เกิดความสามารถในการทำนิติกรรม ความเป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นก่อให้เกิดอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนี้ ๑. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้กำหนดให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑) ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย (๒) จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (๓) สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (๔) ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น (๕) แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น (๖) อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.๒๔๙๘ เฉพาะภายในเขตสภาตำบล (๗) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (๘) จัดทำกิจการใด ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกิจการนั้นเป็นการ สมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๙) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคอาจมอบอำนาจให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติได้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจจัดทำกิจการใด ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่น อื่นหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดอื่นที่อยู่นอกเขตจังหวัดได้ เมื่อได้รับความยินยอมจากราชการส่วนท้องถิ่นอื่นหรือองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ๒. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ ได้กำหนดให้องค์การ บริหารส่วนจังหวัดมีหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (๑) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (๒) การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (๓) การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (๔) การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (๕) การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (๖) การจัดการศึกษา (๗) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (๘) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (๙) การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม (๑๐) การจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม (๑๑) การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม (๑๒) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ (๑๓) การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ (๑๔) การส่งเสริมการท่องเที่ยว (๑๕) การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทำกิจการไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับ บุคคลอื่น หรือจากสหการ (๑๖) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (๑๗) การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง (๑๘) การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น (๑๙) การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ (๒๐) การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ (๒๑) การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร (๒๒) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (๒๓) การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด (๒๔) จัดทำกิจการใดอันเป็นอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตและกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประการกำหนด (๒๕) สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (๒๖) การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (๒๗) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (๒๘) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจและหนา้ที่ขอองค์การบริหารส่วน จังหวัด (๒๙) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ๓ . อำนาจหน้าที่ตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง กำหนดอำนาจ และหน้าที่ในการจัดระบบ บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ลงวัน ที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๖ กำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ลักษณะของการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในการให้บริการสาธารณะในเขตจังหวัด (๑) ดําเนินงานในโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่เกินศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในเขตจังหวัด (๒) เป็นการดําเนินงานที่ปรากฏถึงกิจกรรมที่เป็นภาพรวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด ที่มุ่งต่อประโยชน์ของท้องถิ่นหรือ ประชาชนเป็นส่วนรวม และไม่เข้าไปดำเนินงานที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัดสามารถดำเนินการได้เอง (๓) เข้าไปดําเนินงานตามแผนงานหรือโครงการในลักษณะที่มีความคาบเกี่ยวต่อเนื่องหรือ มีผู้ที่ได้รับประโยชน์ในองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นมากกว่า ๑ แห่งขึ้นไป ข้อ ๒ ในการดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามข้อ ๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัดควรจะดำเนินการเพื่อให้ เป็นไปในลักษณะดังนี้ คือ (๑) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเองและประสานการจัดทำแผนจังหวัดโดยการสร้างและพัฒนาระบบการประสานแผนการพัฒนา ท้องถิ่นในจังหวัดเพื่อนําไปสู่การใช้จ่ายงบประมาณในการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสมดุลย์และคุ้มค่าทาง เศรษฐกิจ (๒) การก่อสร้างและบำรุงรักษาโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่หรือมีการเกี่ยวเนื่องกันหลายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายหลักในการเชื่อมโยงกับแผนงานโครงการ ที่ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด (๓) การจัดการศึกษา สาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในระดับจังหวัด และไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายศักยภาพและมุ้งต่อผลสัมฤทธิ์ใน การพัฒนาการศึกษาสาธารณสุขการสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ในจังหวัด (๔) การส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การส่งเสริมการลงทุน และพาณิชยกรรมของจังหวัด (๕) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูลรวม การดูแลระบบบําบัดน้ำเสียรวมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด (๖) ให้บริการด้านเทคนิค วิชาการ เครื่องมือ เครื่องจักรกล บุคลากร แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในเขตจังหวัด (๗) ดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมถ่ายโอนที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด “มีหน้าที่ที่ต้องทำ” การสนับสนุนงบประมาณให้แก่ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค จะกระทำได้แต่เฉพาะกรณีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่จะต้องดำเนินการเอง แต่ไม่สามารถดำเนินการเองได้ เนื่องจากเป็นงานปฏิบัติซึ่งจะต้องใช้ เทคนิควิชาการสูง และหน่วยงานของรัฐนั้นมีความสามารถที่จะดำเนินการได้ดีกว่า และผลของการให้การสนับสนุนนั้นจะเป็น ประโยชน์ต่อการดําเนินงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ๔ . อำนาจหน้ที่ตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง หลักเกณฑ์ในการสนับสนุนขององค์การ บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลในการให้บริการสาธารณะ ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กำหนดอำนาจ หน้าที่ในการสนับสนุนการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ไว้ดังนี้ (๑) องค์การบริหารส่วนจังหวัด อาจสนับสนุนงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐในจังหวัด ในภารกิจด้านการศึกษาหรือด้านการสาธารณสุขได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดภารกิจอื่นนอกจากภารกิจด้านการศึกษาหรือ ด้านการสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดจะสนับสนุนได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการอำนวยการการกระจายอำ นาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัดเป็นรายกรณีไป (๒) การสนับสนุนงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด จะกระทำได้ต่อเมื่อ - ภารกิจที่จะสนับสนุนจะต้องเป็นภารกิจที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด - องค์การบริหารส่วนจังหวัด ต้องกำหนดโครงการอันเป็นภารกิจหลักของตนเองตามแผนพัฒนาท้องถิ่นที่กำหนดไว้ในงบประมาณ รายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมเสียก่อน แล้วจึงสนับสนุนงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วน ราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ - การให้การสนับสนุนงบประมาณแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ต้องคำนึงถึงสถานะ ทางการคลังขององค์การบริหารส่วนจังหวัดผู้สนับสนุนด้วย (๓) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ขอรับการสนับสนุนเสนอโครงการที่จะขอรับการสนับสนุน ต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่จะให้การสนับสนุน พร้อมทั้งเหตุผลและรายละเอียดว่าโครงการมีงบประมาณไม่เพียงพอในการ ดำเนินการและมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนการเสนอขอรับการสนับสนุนตามวรรคหนึ่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ขอรับการสนับสนุนต้องแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมในโครงการที่เสนอ โดยแบ่งส่วนที่ผู้รับการ สนับสนุนมีงบประมาณของตนเองและส่วนที่จะขอรับการสนับสนุนให้ชัดเจน (๔) เมื่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดผู้สนับสนุนเห็นสมควรสนับสนุนโครงการตาม ๓) ให้นำโครงการนั้นบรรจุไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินและมีความจำเป็นต้องดำเนินการตามโครงการ โดยด่วน จะไม่ดำเนินการ ตามวรรคหนึ่งก็ได้ แต่ให้รายงานการสนับสนุนดังกล่าวต่อคณะอนุกรรมการอำนวยการการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัดทราบด้วย (๕) การสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้สนับสนุนเป็นเงิน บุคลากร วัสดุครุภัณฑ์ และปรับปรุง ซ่อมแซม หรือก่อสร้าง อาคาร ตลอดจนสิ่งก่อสร้างอื่น ได้ไม่เกินร้อยละสิบของรายได้ของปีงบประมาณ ที่ผ่านมาโดยไม่รวมเงินอุดหนุนจากรัฐการคำนวณ วงเงินงบประมาณตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงงบประมาณที่สนับสนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการ หรือ หน่วยงาน อื่นของรัฐ ในเขตจังหวัดด้วยการสนับสนุนตามวรรคหนึ่ง จะสนับสนุนโดยใช้งบประมาณของตนและดำเนินการแทนก็ได้ (๖) กรณีที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีความจำเป็นต้องสนับสนุนงบประมาณในโครงการใดเกินอัตราหรือไม่อาจดำเนินการ ตามหลัก เกณฑ์ที่กำหนด ให้เสนอต่อคณะอนุกรรมกาอำนวยการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัดเป็นผู้ พิจารณาอนุมัติเป็นรายกรณีไป ๕. อำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวง พ.ศ.๒๕๔๑ ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๑ กำหนดอำนาจหน้าที่ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด ร่วมดำเนินการ หรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ไว้ดังนี้ ให้กิจการดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นสมควรให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด ร่วมดำเนินการ หรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ๑. จัดให้มีน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร ๒. กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ๓. บำบัดน้ำเสีย ๔. บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๕. วางผังเมือง ๖. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็นทางหลวงชนบทตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง ๗. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำ ๘. จัดให้มีท่าเทียบเรือ ท่าข้าม ที่จอดรถ และตลาด ๙. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๑๐. รักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ๑๑. จัดการศึกษา ทำนุบำรุงศาสนา และบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ๑๒. จัดให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬา สถานพักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะ และสวนสัตว์ ตลอดจนสถานที่ประชุม อบรมสำหรับราษฎร ๑๓. จัดให้มีการสังคมสงเคราะห์และการสาธารณูปการ ๑๔. ป้องกันและบำบัดรักษาโรค ๑๕. จัดตั้งและบำรุงสถานพยาบาล ๑๖. ส่งเสริมการท่องเที่ยว ๑๗. ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพ ๑๘. กิจการที่ได้มีการกำหนดไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด(อธิบายเป็นรายมาตรา)รอปรับปรุง
อำนาจหน้าที่ของ อบจ.
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ถูกจัดตั้งขึ้นทุกจังหวัด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๔๙๘ เพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย สภาจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัด ต่อมา ได้ปรับปรุงบทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้สอดคล้องกันและปรับปรุงโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ได้มีการตราพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยกำหนดให้พื้นที่จังหวัดเป็นพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด มีผู้บริหารสูงสูด คือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นผู้ปกครองและบังคับบัญชาข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในปัจจุบันเป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๒ กำหนดให้มีหน่วยการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งเรียกว่า "องค์การบริหารส่วนจังหวัด" โดยอยู่ในทุกจังหวัด ๆ ละ ๑ แห่ง รวม ๗๕ แห่ง มีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีพื้นที่รับผิดชอบทั่วทั้งจังหวัด โดยทับซ้อนกับพื้นที่ของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น คือ เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนั้น ความเป็นนิติบุคคลก่อให้เกิดความสามารถในการทำนิติกรรม ความเป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นก่อให้เกิดอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนี้ ๑. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้กำหนดให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑) ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย (๒) จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (๓) สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (๔) ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น (๕) แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น (๖) อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.๒๔๙๘ เฉพาะภายในเขตสภาตำบล (๗) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (๘) จัดทำกิจการใด ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกิจการนั้นเป็นการ สมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๙) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคอาจมอบอำนาจให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติได้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจจัดทำกิจการใด ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่น อื่นหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดอื่นที่อยู่นอกเขตจังหวัดได้ เมื่อได้รับความยินยอมจากราชการส่วนท้องถิ่นอื่นหรือองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ๒. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ ได้กำหนดให้องค์การ บริหารส่วนจังหวัดมีหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (๑) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (๒) การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (๓) การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (๔) การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (๕) การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (๖) การจัดการศึกษา (๗) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (๘) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (๙) การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม (๑๐) การจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม (๑๑) การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม (๑๒) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ (๑๓) การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ (๑๔) การส่งเสริมการท่องเที่ยว (๑๕) การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทำกิจการไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับ บุคคลอื่น หรือจากสหการ (๑๖) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (๑๗) การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง (๑๘) การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น (๑๙) การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ (๒๐) การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ (๒๑) การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร (๒๒) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (๒๓) การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด (๒๔) จัดทำกิจการใดอันเป็นอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตและกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประการกำหนด (๒๕) สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (๒๖) การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (๒๗) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (๒๘) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจและหนา้ที่ขอองค์การบริหารส่วน จังหวัด (๒๙) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ๓ . อำนาจหน้าที่ตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง กำหนดอำนาจ และหน้าที่ในการจัดระบบ บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ลงวัน ที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๖ กำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ลักษณะของการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในการให้บริการสาธารณะในเขตจังหวัด (๑) ดําเนินงานในโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่เกินศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในเขตจังหวัด (๒) เป็นการดําเนินงานที่ปรากฏถึงกิจกรรมที่เป็นภาพรวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด ที่มุ่งต่อประโยชน์ของท้องถิ่นหรือ ประชาชนเป็นส่วนรวม และไม่เข้าไปดำเนินงานที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัดสามารถดำเนินการได้เอง (๓) เข้าไปดําเนินงานตามแผนงานหรือโครงการในลักษณะที่มีความคาบเกี่ยวต่อเนื่องหรือ มีผู้ที่ได้รับประโยชน์ในองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นมากกว่า ๑ แห่งขึ้นไป ข้อ ๒ ในการดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามข้อ ๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัดควรจะดำเนินการเพื่อให้ เป็นไปในลักษณะดังนี้ คือ (๑) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเองและประสานการจัดทำแผนจังหวัดโดยการสร้างและพัฒนาระบบการประสานแผนการพัฒนา ท้องถิ่นในจังหวัดเพื่อนําไปสู่การใช้จ่ายงบประมาณในการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสมดุลย์และคุ้มค่าทาง เศรษฐกิจ (๒) การก่อสร้างและบำรุงรักษาโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่หรือมีการเกี่ยวเนื่องกันหลายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายหลักในการเชื่อมโยงกับแผนงานโครงการ ที่ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด (๓) การจัดการศึกษา สาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในระดับจังหวัด และไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายศักยภาพและมุ้งต่อผลสัมฤทธิ์ใน การพัฒนาการศึกษาสาธารณสุขการสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ในจังหวัด (๔) การส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การส่งเสริมการลงทุน และพาณิชยกรรมของจังหวัด (๕) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูลรวม การดูแลระบบบําบัดน้ำเสียรวมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด (๖) ให้บริการด้านเทคนิค วิชาการ เครื่องมือ เครื่องจักรกล บุคลากร แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในเขตจังหวัด (๗) ดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมถ่ายโอนที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด “มีหน้าที่ที่ต้องทำ” การสนับสนุนงบประมาณให้แก่ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค จะกระทำได้แต่เฉพาะกรณีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่จะต้องดำเนินการเอง แต่ไม่สามารถดำเนินการเองได้ เนื่องจากเป็นงานปฏิบัติซึ่งจะต้องใช้ เทคนิควิชาการสูง และหน่วยงานของรัฐนั้นมีความสามารถที่จะดำเนินการได้ดีกว่า และผลของการให้การสนับสนุนนั้นจะเป็น ประโยชน์ต่อการดําเนินงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ๔ . อำนาจหน้ที่ตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง หลักเกณฑ์ในการสนับสนุนขององค์การ บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลในการให้บริการสาธารณะ ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กำหนดอำนาจ หน้าที่ในการสนับสนุนการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ไว้ดังนี้ (๑) องค์การบริหารส่วนจังหวัด อาจสนับสนุนงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐในจังหวัด ในภารกิจด้านการศึกษาหรือด้านการสาธารณสุขได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดภารกิจอื่นนอกจากภารกิจด้านการศึกษาหรือ ด้านการสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดจะสนับสนุนได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการอำนวยการการกระจายอำ นาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัดเป็นรายกรณีไป (๒) การสนับสนุนงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด จะกระทำได้ต่อเมื่อ - ภารกิจที่จะสนับสนุนจะต้องเป็นภารกิจที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด - องค์การบริหารส่วนจังหวัด ต้องกำหนดโครงการอันเป็นภารกิจหลักของตนเองตามแผนพัฒนาท้องถิ่นที่กำหนดไว้ในงบประมาณ รายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมเสียก่อน แล้วจึงสนับสนุนงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วน ราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ - การให้การสนับสนุนงบประมาณแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ต้องคำนึงถึงสถานะ ทางการคลังขององค์การบริหารส่วนจังหวัดผู้สนับสนุนด้วย (๓) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ขอรับการสนับสนุนเสนอโครงการที่จะขอรับการสนับสนุน ต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่จะให้การสนับสนุน พร้อมทั้งเหตุผลและรายละเอียดว่าโครงการมีงบประมาณไม่เพียงพอในการ ดำเนินการและมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนการเสนอขอรับการสนับสนุนตามวรรคหนึ่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ขอรับการสนับสนุนต้องแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมในโครงการที่เสนอ โดยแบ่งส่วนที่ผู้รับการ สนับสนุนมีงบประมาณของตนเองและส่วนที่จะขอรับการสนับสนุนให้ชัดเจน (๔) เมื่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดผู้สนับสนุนเห็นสมควรสนับสนุนโครงการตาม ๓) ให้นำโครงการนั้นบรรจุไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินและมีความจำเป็นต้องดำเนินการตามโครงการ โดยด่วน จะไม่ดำเนินการ ตามวรรคหนึ่งก็ได้ แต่ให้รายงานการสนับสนุนดังกล่าวต่อคณะอนุกรรมการอำนวยการการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัดทราบด้วย (๕) การสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้สนับสนุนเป็นเงิน บุคลากร วัสดุครุภัณฑ์ และปรับปรุง ซ่อมแซม หรือก่อสร้าง อาคาร ตลอดจนสิ่งก่อสร้างอื่น ได้ไม่เกินร้อยละสิบของรายได้ของปีงบประมาณ ที่ผ่านมาโดยไม่รวมเงินอุดหนุนจากรัฐการคำนวณ วงเงินงบประมาณตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงงบประมาณที่สนับสนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการ หรือ หน่วยงาน อื่นของรัฐ ในเขตจังหวัดด้วยการสนับสนุนตามวรรคหนึ่ง จะสนับสนุนโดยใช้งบประมาณของตนและดำเนินการแทนก็ได้ (๖) กรณีที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีความจำเป็นต้องสนับสนุนงบประมาณในโครงการใดเกินอัตราหรือไม่อาจดำเนินการ ตามหลัก เกณฑ์ที่กำหนด ให้เสนอต่อคณะอนุกรรมกาอำนวยการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัดเป็นผู้ พิจารณาอนุมัติเป็นรายกรณีไป ๕. อำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวง พ.ศ.๒๕๔๑ ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๑ กำหนดอำนาจหน้าที่ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด ร่วมดำเนินการ หรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ไว้ดังนี้ ให้กิจการดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นสมควรให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด ร่วมดำเนินการ หรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ๑. จัดให้มีน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร ๒. กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ๓. บำบัดน้ำเสีย ๔. บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๕. วางผังเมือง ๖. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็นทางหลวงชนบทตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง ๗. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำ ๘. จัดให้มีท่าเทียบเรือ ท่าข้าม ที่จอดรถ และตลาด ๙. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๑๐. รักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ๑๑. จัดการศึกษา ทำนุบำรุงศาสนา และบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ๑๒. จัดให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬา สถานพักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะ และสวนสัตว์ ตลอดจนสถานที่ประชุม อบรมสำหรับราษฎร ๑๓. จัดให้มีการสังคมสงเคราะห์และการสาธารณูปการ ๑๔. ป้องกันและบำบัดรักษาโรค ๑๕. จัดตั้งและบำรุงสถานพยาบาล ๑๖. ส่งเสริมการท่องเที่ยว ๑๗. ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพ ๑๘. กิจการที่ได้มีการกำหนดไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด(อธิบายเป็นรายมาตรา)

รอปรับปรุง
check_circle สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรี
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวรอปรับปรุง
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรีการท่องเที่ยว : แหล่งท่องเที่ยว และสถานที่น่าสนใจของจังหวัดสิงห์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี - ศาลจังหวัด และศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรี ตั้งอยู่บนถนนวิไลจิตต์ ตำบลในเมือง ในเขตเทศบาลอำเภอเมืองสิงห์บุรี ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ศาลจังหวัดสร้างขึ้นเมื่อปี ร.ศ. ๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓) และศาลากลางจังหวัด สร้างขึ้นเมื่อปี ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔) สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตึกก่ออิฐถือปูนชั้นเดียวทรงยุโรป มีความสวยงามและมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมมาก กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ - วัดสว่างอารมณ์ ตั้งอยู่ที่บ้านบางมอญ ตำบลต้นโพธิ์ ในเขตเทศบาลอำเภอเมืองสิงห์บุรี ห่างจากศาลากลางจังหวัดหลังเก่าไปทางลำน้ำเจ้าพระยาประมาณ ๒ กิโลเมตร วัดนี้เป็นศูนย์รวมของศิลปะหลายด้าน ได้แก่ การศึกษา การก่อสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลา และโดยเฉพาะการปั้นพระพุทธรูปเหมือน ที่สืบทอดวิชาปั้นพระพุทธรูป มาจากตระกูลบ้านช่างหล่อธนบุรี ภายในวัดยังมี พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ เป็นแหล่งเก็บรวบรวมตัวหนังใหญ่ที่สมบูรณ์และสามารถเล่นได้กว่า ๓๐๐ ตัว ซึ่งพระครูสิงหมุณี อดีตเจ้าอาวาส ได้รวบรวมตัวหนังใหญ่จากฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเอาไว้ และส่วนหนึ่งได้รับมอบหมายจากครูเปีย หัวหน้าคณะหนังเร่ ผู้ที่มีความสามารถในการเชิด-พาทย์หนังใหญ่ และได้ถ่ายทอดการแสดงหนังใหญ่สืบต่อกันมา ตัวหนังใหญ่ที่ใช้แสดงแบ่งเป็นชุดใหญ่ ๆ ได้ ๔ ชุด คือ ชุดศึกใหญ่ (ศึกทศกัณฑ์) ชุดศึกมงกุฎ-บุตรลบ ชุดนาคบาศ และชุดศึกวิรุณจำบัง มีการสาธิตการแสดงหนังใหญ่ พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๗.๐๐ น. - วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ในตำบลจักรสีห์ สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ มีพุทธลักษณะแบบสุโขทัยที่มีความงดงามมาก มีความยาว ๔๗ เมตร ๔๒ เซนติเมตร(๑ เส้น ๓ วา ๒ ศอก ๑ คืบ ๗ นิ้ว) ลักษณะพระพักตร์หันไปทางทิศเหนือ พระเศียรหันไปทางทิศตะวันออก นอกจากนี้ยังมี พระกาฬ เป็นพระพุทธรูปศิลาลงรักปิดทอง และพระแก้ว พระหล่อนั่งขัดสมาธิเพชรอันศักดิ์สิทธิ์และมีพระพุทธลักษณะงดงาม ทั้งพระกาฬ และพระแก้วสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นพระประทานในการถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ ด้านหน้าวิหารมีต้นสาละลังกาใหญ่ ต้นไม้สำคัญในพระพุทธศาสนาผลิดอกบานสะพรั่งหลายต้น - วัดหน้าพระธาตุ อยู่ในเขตบ้านพระนอนจักรสีห์ ต.จักรสีห์ ห่างจากวัดพระนอนจักรสีห์ไปประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร เดิมชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า วัดหัวเมือง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดหน้าพระธาตุ สันนิษฐานว่าสถานที่บริเวณนี้ จะเป็นที่ตั้งของเมืองสิงห์บุรีเก่า สิ่งที่สำคัญของวัดนี้คือ องค์พระปรางค์สูงประมาณ ๘ วา ทำเป็นรูปครุฑ อสูรถือกระบองประดับอยู่เหนือชั้นเชิงบาตร ภายหลังมีการเสริมแต่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะอยุธยาตอนต้น โดยการก่ออิฐเพิ่มเติมเป็นซุ้มจรนัมทั้งสี่ด้าน ตั้งแต่ฐานศิลาแลงขึ้นไปก่อด้วยอิฐย่อมุมทรงปรางค์ กลีบขนุนปรางค์ก่อด้วยอิฐ ทิศตะวันออกขององค์ปรางค์มีพระวิหารหลวง ทิศตะวันตกเป็นพระอุโบสถ และมีเจดีย์กลมเรียงรายหลายองค์ เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ - วัดประโชติการาม ตั้งอยู่ที่ตำบลบางกระบือ อยู่ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรีประมาณ ๕ กิโลเมตร เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๑๑ เส้นสิงห์บุรี-ชัยนาท (สายเก่า) ไปประมาณ ๕ กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ พุทธลักษณะงดงามศิลปะแบบสุโขทัยขนาดใหญ่ ๒ องค์ คือ หลวงพ่อทรัพย์ สูง ๖ วา ๗ นิ้ว และหลวงพ่อสิน สูง ๓ วา ๓ ศอก ๕ นิ้ว ซึ่งมีพุทธลักษณะที่งดงาม เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป - วัดกระดังงาบุปผาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลบางกระบือ อยู่เลยจากวัดประโชติการามไปเล็กน้อยมีโบสถ์รูปทรงสมัยใหม่ที่งดงามไม่เหมือนโบสถ์แห่งไหนสร้างอยู่บนฐานศาลาการเปรียญ และวัดนี้ยังมีเจดีย์โบราณทรงระฆังคว่ำคล้ายเจดีย์สมัยอยุธยาตอนต้น ฐานเป็นชั้นมีซุ้มทรงระฆังตั้งแต่ปล้องไฉนขึ้นไป เจดีย์องค์นี้นับว่ามีความสมบูรณ์ที่สุดที่มีอยู่ในสมัยเดียวกัน ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติแล้ว นอกจากนี้ด้านหน้าเจดีย์ยังมีโบสถ์เก่าแก่หลังคามุงด้วยกระเบื้องดิน บานประตูโบสถ์เป็นไม้แกะสลักลวดลายสวยงามมาก - วัดพระปรางค์มุนี ตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงหมู่ ตรงข้ามวิทยาลัยเกษตรกรรมสิงห์บุรี ห่างจากตัวเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ประมาณกิโลเมตรที่๑๓๔-๑๓๕ (ทางไปอำเภอพรหมบุรี) จะเห็นองค์พระปรางค์สี่เหลี่ยมสูงเด่นใกล้กับองค์พระปรางค์เป็น วิหารหลวงพ่อเย็น พระพุทธรูปปูนปั้นศักดิ์สิทธิ์สมัยอยุธยา ด้านข้างวิหารมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เป็นกรุพระเก่าแก่ที่ทางวัดได้ขุดดินบริเวณนั้นมากลบวิหาร ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรม อำเภอพรหมบุรี - วัดกุฎีทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ในเขตตำบลบางน้ำเชี่ยว ห่างจากถนนสายเอเชียประมาณ ๔๐๐ เมตร หรือ เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๒ กิโลเมตรที่ ๑๒๕-๑๒๖ ภายในวัดมีมณฑปลักษณะเหมือนเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง สร้างเมื่อพ.ศ.๒๔๔๓ โดยหลวงพ่อปัญญา อุตมะพิชัย เจ้าอาวาส ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้บนยอด และภายในมณฑปนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทโลหะจำลองไว้เป็นที่เคารพสักการะ นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดกุฎีทองยังมีศูนย์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยพวน ซึ่งได้รวบรวมเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวันต่างๆ ของชาวไทยพวน เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องมือ ทำนา ดักสัตว์ จับปลา ตลอดจนยวดยานพาหนะทางน้ำเป็นของเก่าแก่ไว้ให้ชม - คูค่ายพม่า ตั้งอยู่ที่บ้านเจดีย์หัก หมู่๑ ตำบลบ้านแป้ง ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรีไปประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๒ กิโลเมตรที่ ๑๒๙ เป็นแหล่งชุมชนโบราณมีลักษณะเป็นเนินดินแนวยาวรูปร่างคล้ายตัว L ยาวประมาณ ๕-๑๕ เมตร กว้างประมาณ ๓ เมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๑๒๗ ครั้งที่พม่ายกกองทัพมาตั้งที่ปากน้ำบางพุทรา เพื่อรวบรวมกำลังเข้าตีกรุงศรีอยุธยานับเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ปัจจุบันได้ปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป - วัดอัมพวัน ตั้งอยู่ที่ตำบลพรหมบุรี ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๖ กิโลเมตรที่ ๑๓๐ เป็นวัดที่มีชื่อเสียงในด้านการปฏิบัติธรรมทางวิปัสสนากรรมฐาน มีพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) เป็นเจ้าอาวาส - วัดพรหมเทพาวาส (วัดชลอน) ท่านผู้ใหญ่เล่าว่าตรงนี้น้ำเชี่ยวมาก และวนด้วย เรือขึ้นมาถึงจุดนี้จะชนกัน จึงเรียกว่า “วัดชลวน” (ชล-วน) ต่อมาออกเสียงเป็น “วัดชลอน” (ชะ-ลอน) และเป็นต้นกำเนิด “แม่ครัวหัวป่า” เมื่อครั้งก่อนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จพักแรมที่วัดพรหมสาคร เจ้าเมืองพรหมนครขอร้องชาวหัวป่าให้ช่วยกันทำกับข้าว ขนมไปถวาย เสวยแล้วพอพระทัยมาก โดยเฉพาะแกงส้มแตงกวา น้ำพริกปลาร้า จึงทรงประสาทพร “นี่แน่ะ แม่ครัวหัวป่า แม่ครัวทั้งหลาย ขออนุโมทนา ข้าพเจ้าพอใจที่ทำอาหารอร่อย อาหารดี โปรดรักษารสอาหารอย่างนี้ไว้ถึงลูกหลานนะ” ตั้งแต่นั้นมาชาวหัวป่า และเด็กเล็กๆ หัดทำกับข้าวใหม่ ๆ ก็อร่อยหมด - ไหว้พระพรหม ที่เมืองพรหม ที่เมืองพรหม บริเวณริมถนนสายเอเชีย หมายเลข 32 อ.พรหมบุรี =พระพรหม= ถือเป็นพระเจ้าผู้สร้าง ผู้ลิขิตความเป็นไปของทุกสรรพชีวิต เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ทุกผู้คน ผู้บูชาพระพรหม และทำความดี จะได้รับพรให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา พระพรหมเป็นผู้คุ้มครองคนดี และลงโทษคนกระทำบาป ผู้มีกิเลสตัณหาผู้มีจิตใจเอื้ออารี และเสียสละต่อส่วนรวมจะได้พรจากพระพรหม มีความสุขและสมปรารถนา อำเภอท่าช้าง - วัดพิกุลทอง อยู่ในเขตตำบลพิกุลทอง ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๖ กิโลเมตร อยู่ห่างจากวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหารไปประมาณ ๙ กิโลเมตร ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่อแพ (พระธรรมสิงหบุราจารย์) ภายในวัดมี พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อแพ จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ และเครื่องอัฐบริขารของหลวงพ่อแพตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นอีกด้านหนึ่งของวัดนี้มีพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี หรือ หลวงพ่อใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๑ วา ๒ ศอก ๗ นิ้ว สูง ๒๑ วา ๑ คืบ ๓ นิ้ว ภายในเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกทองคำธรรมชาติชนิด ๒๔ เค รอบๆ พระวิหารใหญ่มีวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปางประจำวันต่างๆ และพระสังกัจจายองค์ใหญ่ และบริเวณวัดยังมีสวนธรรมะ และสิ่งก่อสร้างที่สวยงามน่าสนใจ แวดล้อมด้วยบรรยากาศสงบร่มรื่น - วัดจำปาทอง ตั้งอยู่ที่ตำบลโพประจักษ์ เป็นสถานที่เก็บรักษาเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระเทพรัตน-ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อคราวเสด็จประพาสในการล่องแม่น้ำน้อย เป็นเรือมาดเก๋ง ประเภทเรือแจว ชื่อว่าเรือจำปาทองสิงห์บุรี นอกจากนั้นภายในวัดมีพระนอนองค์ใหญ่ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ อำเภอค่ายบางระจัน - อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน และอุทยานค่ายบางระจัน อยู่ห่างจากตัวเมือง ๑๕ กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๐๓๒ มีพื้นที่ประมาณ ๑๑๕ ไร่ เป็นสวนรุกขชาติพักผ่อนหย่อนใจ จะเห็นอนุสาวรีย์ วีรชนค่ายบางระจันเป็นรูปหล่อประติมากรรมของหัวหน้าชาวค่ายบางระจันทั้ง ๑๑ คน สร้างโดยกรมศิลปากรปรากฏสวยเด่นเป็นสง่าอยู่ในสวน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงเปิดอนุสาวรีย์นี้ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๑๙ ค่ายบางระจันมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ผืนแผ่นดินแห่งนี้ได้บันทึกเหตุการณ์ความกล้าหาญ และเสียสละของวีรชนไทยที่เกิดขึ้น เมื่อเดือน ๓ ปีระกา พ.ศ. ๒๓๐๘ ในครั้งนั้นชาวบ้านบางระจันได้รวมพลังกันต่อสู้กับกองทัพพม่า ซึ่งมีจำนวนมากมายมหาศาล โดยพม่าต้องยกทัพเข้าตีหมู่บ้านนี้ถึง ๘ ครั้ง ใช้เวลา ๕ เดือน จึงเอาชนะได้เมื่อวันจันทร์แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ นับเป็นอนุสาวรีย์ที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง ค่ายบางระจันในปัจจุบันได้สร้างจำลองโดยอาศัยรูปแบบค่ายในสมัยโบราณ และภายในบริเวณยังมี อาคารศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์วีรชนค่ายบางระจัน จัดห้องนิทรรศการโดยแบ่งออกเป็นห้องต่างๆ ห้องแรก แสดงเรื่องค่ายบางระจัน เครื่องใช้โบราณ แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย หนังใหญ่ ห้องที่สอง จัดแสดงมรดกเมืองสิงห์บุรี ห้องที่สาม แสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองสิงห์บุรีและของดีเมืองสิงห์บุรี เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. - วัดโพธิ์เก้าต้น หรือ วัดไม้แดง ตั้งอยู่ที่หมู่ ๘ ตำบลบางระจัน ตรงข้ามกับอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๕ กิโลเมตร เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๐๓๒ เป็นสถานที่ที่วีรชนชาวบ้านบางระจันได้เคยใช้เป็นที่มั่นในการต่อต้านพม่าที่ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อปีพ.ศ. ๒๓๐๘ ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า “วัดไม้แดง” เพราะภายในบริเวณมีต้นไม้แดง ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งอยู่หลายต้น และชาวบ้านถือกันว่าเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ไม่มีใครกล้าตัด หรือ ทำลาย ในบริเวณวัดมี “วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ” เป็นวิหารทรงจัตุรมุข พระอาจารย์ท่านเป็นผู้นำสำคัญผู้หนึ่งของชาวบ้านบางระจัน และใกล้ๆ กันก็มี สระน้ำพระอาจารย์ธรรมโชติ มีปลาอยู่ชุกชุมเพราะชาวบ้านถือว่าเป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ จึงไม่จับไปรับประทานและยังมีศาลรวมวิญญาณวีรชนค่ายบางระจันตั้งอยู่ใกล้ริมรั้ว ส่วนหน้าวัดได้มีการจำลองค่ายบางระจันตามประวัติศาสตร์ไว้ด้วย กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดโพธิ์เก้าต้นเป็นโบราณสถาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ - วัดสิงห์สุทธาวาส ตั้งอยู่ตำบลโพสังโฆ เดิมชื่อว่าวัดตะเคียน เพราะมีต้นตะเคียนอยู่เป็นสัญลักษณ์ เริ่มก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๑ ต่อมาทางราชการย้ายเมืองสิงห์ จากแม่น้ำจักรสีห์มาตั้งอยูริมแม่น้ำน้อย ทางด้านใต้ของวัดตะเคียน และคงจะเปลี่ยนชื่อช่วงต่อมา เรียกกันตามชื่อเมืองว่า "วัดสิงห์" ครั้นถึงสมัยของพระมหาเนี่ยมเกิดเมฆเป็นเจ้าอาวาสจึงต่อคำท้ายเป็น "วัดสิงห์สุทธาวาส" ปัจจุบันวัดสิงห์สุทธาวาสมี พระครูวิสุทธาภิรักษ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสท่านได้ปรับปรุงบริเวณวัดอย่างเป็นสัดส่วนชัดเจน โดยแบ่งเป็นเขตพุทธาวาส สังฆาวาส ภายในวัด และรอบๆ บริเวณวัด จัดบรรยากาศร่มรื่น สวยงาม โดยจัดสวนหย่อมปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ รอบบริเวณวัด ตามต้นไม้จะมีสุภาษิต คติธรรม (ต้นไม้พูดได้) เพื่อไว้เป็นคติสอนใจ มีปูชนียวัตถุ คือพระพุทธฉาย อยู่ในมณฑปพระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างด้วยศิลา ชาวบ้านเรียก "หลวงพ่อนาค" องค์พระเป็นหินสกัดมีพญานาค ๗ เศียร แผ่รัศมีรอบเกศพระ ด้านหลังองค์พระมีเสมาธรรมจักร แต่ปัจจุบันหลวงพ่อนาคได้ถูกขโมยไป ดังนั้นหลวงพ่อนาคที่เห็นอยู่นี้เป็นองค์จำลองที่ทำจากปูนปั้นนอกจากนี้ยังพบ สิงห์ปั้นด้วยดินเผาอยู่ ๒ ตัว สันนิษฐานว่า สิงห์ที่พบนี้เป็นที่มาของชื่อ "วัดสิงห์" ซึ่งต่อขุนสิงขรภุมมา ได้ขอไปไว้ที่อำเภอบางระจัน (ซึ่งสมัยนั้นชื่อ อ.สิงห์) ๑ ตัว ปัจจุบันยังมีอยู่ที่ หน้าที่ว่าการอำเภอบางระจัน อำเภอบางระจัน - วัดพระปรางค์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ บ้านโคกหม้อ ตำบลเชิงกลัด ภายในบริเวณวัดมีพระปรางค์ศิลปะแบบอยุธยาตอนต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๑ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช องค์ปรางค์สูงประมาณ ๑๕ เมตร ก่อด้วยอิฐแบบปรางค์ไทยสูงชะลูดคล้ายฝักข้าวโพด ฐานเตี้ย ภายในกลวงมีคูหาสี่เหลี่ยมจตุรัสบนผนังคูหา และปัจจุบันร่องรอยภาพจิตรกรรมฝาผนังได้ลบเลือนไปแล้ว ด้านหลัง มีพระอุโบสถเก่าแก่แบบอยุธยา หน้าบันเป็นลายแกะสลักไม้รูปตัวสิงห์ และคันทวยต่างๆมีภูเขาและรอยพระพุทธบาทจำลองบนยอดเขา นอกจากนั้นยังปรากฏร่องรอยของเตาเผาแม่น้ำน้อย ประมาณ ๓-๔ เตา วัดพระปรางค์ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๘๗ - แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระปรางค์ (ชัณสูตร) เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๔-๒๓๑๐ ลักษณะตัวเตาเป็นแบบระบายความร้อนเฉียงขึ้น ก่อด้วยอิฐ ตัวเตาบางส่วนคล้ายเรือประทุนจึงเรียก “เตาประทุน” แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ ปล่องไฟ ห้องวางเครื่องปั้นดินเผา และห้องเชื้อเพลิงตัวเตาเผาที่นับว่ามีขนาดใหญ่ มีความยาวถึง ๑๔ เมตร กว้าง ๕.๖๐ เมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางของปล่องควันไฟยาว ๒.๑๕ เมตร เคยใช้เป็นที่ผลิตภาชนะดินเผา เช่น ไห อ่าง ครก กระปุก ช่อฟ้า กระเบื้องปูพื้น เป็นต้น - อุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลทับยา มีพื้นที่อยู่ในเขตอำเภออินทร์บุรีและอำเภอบางระจัน ห่างจากอำเภอเมืองไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๑๑ (สายสิงห์บุรี-ชัยนาท) ประมาณ ๙ กิโลเมตร จะมีทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าหมู่ ๗ ตำบลบางกระบือ ประมาณ ๒ กิโลเมตร หรือ เข้าทางตำบลทับยา ประมาณ ๑.๒ กิโลเมตร ก็จะถึงอุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์ คำว่า “แม่ลา” เป็นชื่อลำน้ำสายหนึ่งในท้องที่จังหวัดสิงห์บุรีไหลผ่านพื้นที่ ๓ อำเภอ คือ อำเภออินทร์บุรี อำเภอบางระจัน และอำเภอเมืองสิงห์บุรี เป็นลำน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารของปลา ฉะนั้น ปลาที่จับได้จากลำน้ำแม่ลาจึงมีรสชาติอร่อย อ้วน เนื้อนุ่ม มัน โดยเฉพาะปลาช่อนแม่ลา ซึ่งเป็นอาหารและของฝาก ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสิงห์บุรี และมีอุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์ริมฝั่งแม่น้ำลาการ้อง อำเภออินทร์บุรี - วัดสุทธาวาส หรือ วัดใหม่ ตั้งอยู่ที่ตำบลทับยา ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 311 เส้นสิงห์บุรี-อินทร์บุรี กิโลเมตรที่ ๑๑-๑๒ เลยจากวัดกระดังงาบุปผารามไปประมาณ ๕ กิโลเมตร หรือ ห่างจากที่ว่าการอำเภออินทร์บุรีไปทางทิศใต้ประมาณ ๓.๕ กิโลเมตร มีวิหารหลังเก่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติพระจุฬามณี วาดด้วยช่างฝีมือชั้นครู เป็นภาพตอนพระพุทธองค์ทรงออกบรรพชา ภาพตอนผจญมาร ภาพตอนพระพุทธองค์ฉันอาหารที่นายจุนทะถวาย ทรงประชวรแล้วเสด็จไปประทับ ณ ต้นรังคู่ เสด็จสู่ปรินิพพาน และภาพเรื่องราวของการถวายพระเพลิง การแจกจ่ายพระอัฐิธาตุแก่เหล่ากษัตริย์และเทวดา บนหน้าบันเป็นภาพบรรจุพระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้าลอยในน้ำ นับเป็นโบราณสถานที่มีความงดงามและมีคุณค่าอีกแห่งหนึ่ง - วัดโบสถ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลอินทร์บุรี ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข๓๑๑ เส้นสิงห์บุรี-อินทร์บุรี (สายเก่า) กิโลเมตรที่ ๑๔-๑๕ ไปประมาณ ๑๖ กิโลเมตร เป็นพระอารามหลวง เดิมเป็น วัดร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาส่วนพระอุโบสถเป็นเพียงแห่งเดียวที่สร้างโดยใช้รางรถไฟเป็นแกนกลางข้างล่าง และที่น่าสนใจ คือ การแกะสลักบานประตูหน้าต่างโบสถ์ทั้งหลัง โดยช่างที่มีฝีมือแกะสลักของเมืองสิงห์บุรี คือ ช่างชื่น หัตถโกศล ภายในโบสถ์มีพระประธานที่เก่าแก่ พุทธลักษณะที่งดงามมาก ปัจจุบันโบสถ์แห่งนี้ได้รับการบูรณะใหม่ - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับวัดโบสถ์ ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดโบสถ์มาก่อน ก่อตั้งโดยอดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ พระเทพสุทธิโมลี เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี และอุทัยธานีได้รวบรวมจัดเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ มีโบราณวัตถุที่สำคัญและเป็นที่รวมความรู้ด้านประวัติศาสตร์ เช่น โบราณวัตถุที่ขุดพบได้จากแหล่งโบราณบ้านคูเมือง แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย จัดแสดงเครื่องประดับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ พัดยศ พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ เครื่องถ้วยศิลปะไทย-จีน เครื่องดนตรีไทย ส่วนชั้นล่าง เป็นการละเล่นพื้นบ้าน เครื่องมือดักปลา เครื่องทอผ้า ตะเกียงโบราณ - เมืองโบราณบ้านคูเมือง (อยู่ภายในสวนรุกขชาติคูเมือง) ตั้งอยู่ที่บ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน ภายในสวนรุกขชาติคูเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๒๓ กิโลเมตร สันนิษฐานว่าเป็นชุมชนโบราณสมัยทวาราวดี ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมน กว้าง ๖๕๐ เมตร ยาว ๗๕๐ เมตร สูงจากพื้น ๑ เมตร มีเนินดินขนาดใหญ่ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ มีการขุดค้นพบภาชนะดินเผามากมาย เช่น เครื่องถ้วยชาม หม้อ ไห กาน้ำ ลูกปัดหินสีต่าง ๆ ตะคันดินเผา ธรรมจักรหินเขียว ตุ้มหู ลูกปัด หินสี และเหรียญเงินมีคำจารึกว่า “ศรีทวารวดีศวรปุญยะ” แสดงให้เห็นว่ามีชุมชนอาศัยอยู่ ในบริเวณนี้ติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยฟูนันจนถึงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันวัตถุโบราณที่ค้นพบได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี และภายในบริเวณเมืองโบราณบ้านคูเมืองปัจจุบันได้จัดให้เป็นสวนรุกขชาติ มีเนื้อที่ประมาณ ๕๐๐ ไร่ มีคูน้ำโบราณล้อมรอบ มีพันธุ์ไม้ต่างๆ ร่มรื่นสวยงาม - วัดม่วง ตั้งอยู่ที่ตำบลอินทร์บุรี ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา หากมาจากถนนสายเอเชีย ห่างจากตัวตลาดอินทร์บุรี มีทางเลี้ยวซ้ายไปประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นประมาณปี พ.ศ. ๒๓๖๕ เดิมนั้นมีต้นมะม่วงอยู่มาก จึงเรียกว่า “วัดม่วง” ภายในวัดมีวิหารเก่าแก่เป็นอาคารปูนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีมุขยื่นออกมาที่หน้าบันประดับด้วยภาชนะเครื่องถ้วยต่างๆ ในวิหารมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระประธานที่พุทธลักษณะงดงาม ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีรูปฐานสิงห์ มีฐานบัวขนาดใหญ่รองรับ เพดานประดับด้วยลายเขียนรูปดาว มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนด้วยสีฝุ่น ฝีมือช่างพื้นบ้านสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ และมีเรื่องราวพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนแสดงภาพชีวิตความเป็นอยู่วัฒนธรรมของสังคมโบราณในระดับต่างๆ ได้เป็นอย่างดี - ไหว้พระอินทร์ที่เมืองอินทร์ ในบริเวณ FN Factory outlet หมู่ 1 ตำบลน้ำตาล อำเภออินทร์บุรีพระอินทร์เป็นมหาเทพที่ยิ่งใหญ่เหนือชีวิตของมนุษย์ และสรรพสัตว์มีหน้าที่ปกป้องดูแลโลกให้พ้นจากสิ่งเลวร้ายต่างๆ เป็นผู้นำเหล่าเทพเจ้าไปกำจัดอสูรร้ายในหลายคราว หากคนดีมีเคราะห์ร้ายพระอินทร์จะลงมาช่วยทุกครั้งไปมีฐานะเป็นพระผู้ดูแลทุกข์สุขของมนุษย์โลก ดินฟ้าอากาศและสงคราม และยังเป็นเทพนักสังคมสงเคราะห์ คนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า อำนาจของพระอินทร์นั้น จะช่วยปัดเป่าความชั่วร้าย หรือสิ่งไม่ดีบริเวณนั้น พร้อมทั้งปกป้องรักษาธุรกิจให้เจริญรุ่งเรือง รวมถึงคุ้มครองผู้บูชาในศาสนาพุทธ พระอินทร์ ยังเป็นเทพผู้รักษาพระพุทธศาสนาให้อยู่ยืนยงถึง 5,000 ปี เนื่องจากพระอินทร์เป็นเทวกษัตริย์ หมายถึงเป็นราชาแห่งเหล่าทวยเทพ จึงมีอำนาจในการสั่งการ ทำลายผู้ที่จะนำพาพระพุทธศาสนาไปในทิศทางที่ไม่ดี เทศกาลงานประเพณี - งานวันวีรชนค่ายบางระจัน จัดขึ้นเป็นประจำในระหว่างวันที่ ๔-๖ กุมภาพันธ์ของทุกปี ที่บริเวณอนุสาวรีย์วีรชนและอุทยานค่ายบางระจัน ตำบลบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน ประกอบไปด้วยพิธีสักการะรูปจำลองพระอาจารย์ธรรมโชติ และวางพวงมาลาสักการะอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน การแสดงละครประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวีรกรรมของวีรชนค่ายบางระจัน ประกอบแสง สี เสียง การละเล่นพื้นบ้าน มหรสพ การแสดงนิทรรศการของดีเมืองสิงห์ต่าง ๆ มากมาย - ประเพณีกำฟ้า เป็นงานบุญพื้นบ้านของชาวไทยพวนที่บ้านบางน้ำเชี่ยว และหมู่บ้านโภคาภิวัฒน์ อำเภอพรหมบุรี จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาและระลึกถึงเทพยดาผู้รักษาฟากฟ้า และบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ถือเอาวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓ เป็นวันสุกดิบ โดยชาวบ้านจะช่วยกันตำข้าวปุ้น (ขนมจีน) และข้าวจี่ ข้าวหลามไว้สำหรับทำบุญตักบาตรในวันรุ่งขึ้น พิธีจะมีในตอนเย็น เรียกกันว่า “ไปงันข้าวจี่” ชาวบ้านจะนำข้าวสารเหนียว ไข่ น้ำตาล ไปเข้ามงคลในพิธีเจริญพุทธมนต์ กลางคืนจะมีมหรสพแสดงกันเป็นที่สนุกสนาน ตกดึกจะพากันนึ่งข้าวเหนียว ทำขนม ในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งเป็นวันกำฟ้า ชาวบ้านก็จะนำไทยทานและอาหารที่เตรียมไว้ไปร่วมทำบุญที่วัด เมื่อพ้นกำฟ้า ๗ วันแล้ว จะต้องกำฟ้าอีกครึ่งวัน และนับต่อไปอีก ๕ วัน จะมีการจัดอาหารถวายพระ เสร็จแล้วนำไฟดุ้นหนึ่งไปทำพิธีเลียแล้ง โดยการนำไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง ถือเป็นการบูชาและระลึกถึงเทพเจ้าเป็นอันเสร็จพิธีกำฟ้า - ประเพณีตีข้าวบิณฑ์ เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ทำกันอยู่แห่งเดียวที่หมู่บ้านจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรีนิยมทำในช่วงวันสงกรานต์ ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน ของทุกปี ชาวบ้านจะนัดกันทำพิธีโดยการนำข้าวเหนียว หรือ ข้าวเหนียวแดงมาหุง หรือ นึ่งพอสุกนำมาใส่ใบตองพับเป็นรูปกรวย นำไปถวายหลวงพ่อพระนอนจักรสีห์ที่วัดพระนอนจักรสีห์ด้วยการนำพานใส่กรวยข้าวเหนียวที่เตรียมวางไว้ด้านหน้าองค์พระนอน เพื่อทำพิธีถวายข้าวเหนียว เมื่อเห็นว่าเวลาผ่านไปพอสมควรจะทำพิธีลาข้าว ทุกคนจะตรงไปที่พานข้าวของตน แบ่งข้าวเหนียวในกรวยใส่กระทง แล้วนำไปวางไว้ที่หน้าองค์พระนอนพอเป็นสังเขป จากนั้นชาวบ้านจะแยกกันนั่งเป็นวง ๆ ละ ๖-๗ คน แบ่งกันรับประทานข้าวที่เหลือ ซึ่งถือว่าเป็นข้าวบิณฑ์ของหลวงพ่อพระนอนจักรสีห์ - ประเพณีกวนข้าวทิพย์ การกวนข้าวทิพย์ หรือ ข้าวมธุปายาสนี้มักจะจัดขึ้นที่หมู่บ้านวัดกุฎีทองบ้านโภคาภิวัฒน์ วัดอุตมะพิชัย อำเภอพรหมบุรี วันทำพิธีกวนข้าวทิพย์มิได้กำหนดไว้เป็นที่แน่นอนมักจะทำกันในช่วงข้าวกำลังเป็นน้ำนม โดยการปลูกปะรำพิธีแล้วใช้ด้ายสายสิญจน์วนรอบปะรำพิธี นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ แล้วให้หญิงสาวพรหมจารีนำเครื่องปรุงข้าวทิพย์ต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ ๙ สิ่ง ได้แก่ ถั่ว งา นม เนย น้ำตาล มะพร้าว น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และน้ำที่คั้นได้ จากข้าวน้ำนมใส่ลงในกระทะที่ใช้ไฟสุมเพลิงจากดวงอาทิตย์ติดไฟด้วยฟืนไม้ชัยพฤกษ์ และไม้พุทรา ขณะใส่ของต่างๆ ลงในกระทะพระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา ย่ำฆ้อง ย่ำกลอง การจัดพิธีกรรมยังคงรักษารูปแบบเดิมไว้ คือ มีพราหมณ์เข้าพิธี และสาวพรหมจารีที่จะเข้าร่วมพิธีต้องเป็นหญิงสาวที่ยังไม่มีดอกไม้ (ระดู) นุ่งขาวห่มขาว สมทานศีล ๘ เพื่อให้มีความบริสุทธิ์ทั้งกายและใจ จากนั้น จึงช่วยกันกวนข้าวทิพย์ใช้เวลากวนประมาณ ๖ ชั่วโมง เสร็จแล้วตักใส่ภาชนะเตรียมถวายพระในวันรุ่งขึ้น - ประเพณียายดอกไม้ (ตักบาตรดอกไม้) เป็นงานบุญเข้าพรรษาประจำตำบลบ้านแป้ง อำเภอพรหมบุรี ณ วัดจินดามณี โดยจะมีการจัดกิจกรรมฟื้นฟูประเพณียายดอกไม้ (ตักบาตรดอกไม้) ในช่วงวันเข้า พรรษาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งเป็นประเพณีท้องถิ่นดั้งเดิมของชุมชนชาวบ้านเวียงจันทร์ที่เป็นบรรพบุรุษของชุมชนในตำบลบ้านแป้ง ตั้งแต่ปู่ย่าตายายให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของพุทธศาสนิกชน ชาวตำบลบ้านแป้ง ซึ่งประเพณีนี้เป็นประเพณีดั้งเดิมที่มีกันมานานเป็นร้อยปีแล้ว และเพื่อที่จะให้ประเพณีนี้ยังอยู่กับเราไปนานๆ จึงได้กำหนดวันเข้าพรรษาให้เป็นวันตักบาตรดอกไม้ ทางวัดในหมู่บ้านจะมีการตีกลองแฉะ ประมาณครึ่งชั่วโมง ญาติโยมพี่น้องก็จะพาลูกหลานมาที่วัด จัดข้าวตอกดอกไม้ 5 ชนิด คือ ข้าวตอก ดอกมะลิ ดอกรัก ดอกบัว ดอกข้าวโพด ธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม จัดเป็นกำใส่บาตรพระ เพื่อใช้เข้าอุโบสถ เป็นพุทธบูชา - การแข่งเรือยาวประเพณี การแข่งขันเรือยาวจัดขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนกันยายนของทุกปีที่บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ริมเขื่อนหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ตลอดจนบริเวณลำแม่น้ำน้อย ตามที่หน่วยงาน หรือ ภาคส่วนต่างๆ กำหนดจัดขึ้น ซึ่งมีเรือที่มีชื่อเสียงของจังหวัดต่างๆ ส่งเข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นับเป็นงานประเพณีที่ตื่นเต้นสนุกสนาน และเร้าใจ ตลอดจนได้เพลิดเพลินกับความสวยงามของเรือแต่ละลำที่ตกแต่งลวดลายและประชันฝีพายกันอย่างเต็มที่ - งานเทศกาลกินปลาและของดีเมืองสิงห์บุรี จัดขึ้นประมาณปลายเดือนธันวาคมของทุกปีเนื่องจากจังหวัดสิงห์บุรีมีลำน้ำแม่ลาเป็นลำน้ำธรรมชาติที่มีปลาชุกชุม และมีชื่อเสียงมาก คือ ปลาช่อนแม่ลา ซึ่งเป็นอาหารจานเด็ดของสิงห์บุรี นอกจากนี้สิงห์บุรียังเป็นถิ่นกำเนิดของแม่ครัวหัวป่า ต้นตำรับอาหารคาวหวานที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ ๕ อีกด้วย - ประเพณีสงกรานต์ภาคกลาง จัดบริเวณวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร อำเภอเมืองสิงห์บุรี โดยมีกิจกรรมเด่นอาทิ ประกวดควายไทยเขางาม สงกรานต์ชายหาด การแสดง แสง สี เสียง “ตำนานพระนอน” ร่วมรับประทานอาหารขันโตก พิธีอัญเชิญห่มผ้าพระนอน พิธีตีข้าวบิณฑ์ กินข้าวหัวป่า กตัญญูกตเวทิตาผู้ใหญ่ ก่อพระเจดีย์ทรายพุทธบูชา เป็นต้น การแข่งขันเรือมาศ 12 ฝีพาย (เยาวชน ชาย – หญิง) การแข่งขันเรือแจวเดี่ยว (ทั่วไป) การแข่งขันเรื่อพายหัวใบ้ท้ายบอด การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน พิธีสรงน้ำพระนอนจักรสีห์จำลอง และสงฆ์น้ำพระภิกษุสงฆ์จากทุกวัดในจังหวัดสิงห์บุรี การประกวดเทพีสงกรานต์ ตลาดนัดลานวัดของดีเมืองสิงห์ วัดพระนอน “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” - ประเพณีลาวแง้ว คือ ประเพณีเพาะกระจาด หรือใส่กระจาด ของชาวตำบลทองเอน อ.อินทร์บุรี โดยการใส่กระจาดจะเริ่มเมื่อมีการประกาศ กำหนดงานบุญมหาชาติ ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะกำหนดไม่ตรงกัน หมู่บ้านใดตรงถึงวันกำหนดวันทำบุญ แต่ละบ้านจะทำขนมเส้นหรือขนมจีบ และข้าวต้มมัดเพื่อเตรียมไว้สำหรับวันงานวันเริ่มแรกของการทำบุญ เรียกว่า "วันตั้ง" ในวันตั้งนี้หมู่บ้านที่ยังไม่ทำบุญก็จะนำผลไม้ เช่น กล้วย อ้อย ส้ม ฯลฯ ไปยังบ้านที่มีงานโดยหนุ่มสาวจะแต่งตัวสวยงามเดินทางเป็นกลุ่มๆ การร่วมงานบุญ นั้นอาจใช้ผลไม้ต่างๆ ที่นำมาหรือเงินก็ได้ และอาจมีธูปเทียนใส่พานนำไปให้เจ้าของบ้าน การนำเอาของมาร่วมสมทบทำบุญ เรียกว่า "ใส่กระจาด" เจ้าของบ้านเลี้ยงอาหารแก่แขก และเมื่อแขกกลับก็จะให้ข้าวต้มมัดเป็นของตอบแทน ประเพณีการใส่กระจาดนี้ หนุ่มสาวจะได้มีโอกาสพบปะ พูดคุยกันโดยพ่อแม่ฝ่ายหญิงไม่ขัดขวาง วันรุ่งขึ้นจากวันตั้งก็จะเป็นวันเทศน์มหาชาติโดยแต่ละบ้านจะจับสลากกันว่าบ้านไหนจะได้ติดกัณฑ์เทศน์มหาชาติกัณฑ์ไหน สถานที่ก็จัดเตรียมและตกแต่งอย
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรี
แนะนำแหล่งท่องเที่ยว

รอปรับปรุง
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรี

การท่องเที่ยว : แหล่งท่องเที่ยว และสถานที่น่าสนใจของจังหวัดสิงห์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี - ศาลจังหวัด และศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรี ตั้งอยู่บนถนนวิไลจิตต์ ตำบลในเมือง ในเขตเทศบาลอำเภอเมืองสิงห์บุรี ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ศาลจังหวัดสร้างขึ้นเมื่อปี ร.ศ. ๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓) และศาลากลางจังหวัด สร้างขึ้นเมื่อปี ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔) สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตึกก่ออิฐถือปูนชั้นเดียวทรงยุโรป มีความสวยงามและมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมมาก กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ - วัดสว่างอารมณ์ ตั้งอยู่ที่บ้านบางมอญ ตำบลต้นโพธิ์ ในเขตเทศบาลอำเภอเมืองสิงห์บุรี ห่างจากศาลากลางจังหวัดหลังเก่าไปทางลำน้ำเจ้าพระยาประมาณ ๒ กิโลเมตร วัดนี้เป็นศูนย์รวมของศิลปะหลายด้าน ได้แก่ การศึกษา การก่อสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลา และโดยเฉพาะการปั้นพระพุทธรูปเหมือน ที่สืบทอดวิชาปั้นพระพุทธรูป มาจากตระกูลบ้านช่างหล่อธนบุรี ภายในวัดยังมี พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ เป็นแหล่งเก็บรวบรวมตัวหนังใหญ่ที่สมบูรณ์และสามารถเล่นได้กว่า ๓๐๐ ตัว ซึ่งพระครูสิงหมุณี อดีตเจ้าอาวาส ได้รวบรวมตัวหนังใหญ่จากฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเอาไว้ และส่วนหนึ่งได้รับมอบหมายจากครูเปีย หัวหน้าคณะหนังเร่ ผู้ที่มีความสามารถในการเชิด-พาทย์หนังใหญ่ และได้ถ่ายทอดการแสดงหนังใหญ่สืบต่อกันมา ตัวหนังใหญ่ที่ใช้แสดงแบ่งเป็นชุดใหญ่ ๆ ได้ ๔ ชุด คือ ชุดศึกใหญ่ (ศึกทศกัณฑ์) ชุดศึกมงกุฎ-บุตรลบ ชุดนาคบาศ และชุดศึกวิรุณจำบัง มีการสาธิตการแสดงหนังใหญ่ พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๗.๐๐ น. - วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ในตำบลจักรสีห์ สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ มีพุทธลักษณะแบบสุโขทัยที่มีความงดงามมาก มีความยาว ๔๗ เมตร ๔๒ เซนติเมตร(๑ เส้น ๓ วา ๒ ศอก ๑ คืบ ๗ นิ้ว) ลักษณะพระพักตร์หันไปทางทิศเหนือ พระเศียรหันไปทางทิศตะวันออก นอกจากนี้ยังมี พระกาฬ เป็นพระพุทธรูปศิลาลงรักปิดทอง และพระแก้ว พระหล่อนั่งขัดสมาธิเพชรอันศักดิ์สิทธิ์และมีพระพุทธลักษณะงดงาม ทั้งพระกาฬ และพระแก้วสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นพระประทานในการถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ ด้านหน้าวิหารมีต้นสาละลังกาใหญ่ ต้นไม้สำคัญในพระพุทธศาสนาผลิดอกบานสะพรั่งหลายต้น - วัดหน้าพระธาตุ อยู่ในเขตบ้านพระนอนจักรสีห์ ต.จักรสีห์ ห่างจากวัดพระนอนจักรสีห์ไปประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร เดิมชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า วัดหัวเมือง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดหน้าพระธาตุ สันนิษฐานว่าสถานที่บริเวณนี้ จะเป็นที่ตั้งของเมืองสิงห์บุรีเก่า สิ่งที่สำคัญของวัดนี้คือ องค์พระปรางค์สูงประมาณ ๘ วา ทำเป็นรูปครุฑ อสูรถือกระบองประดับอยู่เหนือชั้นเชิงบาตร ภายหลังมีการเสริมแต่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะอยุธยาตอนต้น โดยการก่ออิฐเพิ่มเติมเป็นซุ้มจรนัมทั้งสี่ด้าน ตั้งแต่ฐานศิลาแลงขึ้นไปก่อด้วยอิฐย่อมุมทรงปรางค์ กลีบขนุนปรางค์ก่อด้วยอิฐ ทิศตะวันออกขององค์ปรางค์มีพระวิหารหลวง ทิศตะวันตกเป็นพระอุโบสถ และมีเจดีย์กลมเรียงรายหลายองค์ เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ - วัดประโชติการาม ตั้งอยู่ที่ตำบลบางกระบือ อยู่ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรีประมาณ ๕ กิโลเมตร เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๑๑ เส้นสิงห์บุรี-ชัยนาท (สายเก่า) ไปประมาณ ๕ กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ พุทธลักษณะงดงามศิลปะแบบสุโขทัยขนาดใหญ่ ๒ องค์ คือ หลวงพ่อทรัพย์ สูง ๖ วา ๗ นิ้ว และหลวงพ่อสิน สูง ๓ วา ๓ ศอก ๕ นิ้ว ซึ่งมีพุทธลักษณะที่งดงาม เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป - วัดกระดังงาบุปผาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลบางกระบือ อยู่เลยจากวัดประโชติการามไปเล็กน้อยมีโบสถ์รูปทรงสมัยใหม่ที่งดงามไม่เหมือนโบสถ์แห่งไหนสร้างอยู่บนฐานศาลาการเปรียญ และวัดนี้ยังมีเจดีย์โบราณทรงระฆังคว่ำคล้ายเจดีย์สมัยอยุธยาตอนต้น ฐานเป็นชั้นมีซุ้มทรงระฆังตั้งแต่ปล้องไฉนขึ้นไป เจดีย์องค์นี้นับว่ามีความสมบูรณ์ที่สุดที่มีอยู่ในสมัยเดียวกัน ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติแล้ว นอกจากนี้ด้านหน้าเจดีย์ยังมีโบสถ์เก่าแก่หลังคามุงด้วยกระเบื้องดิน บานประตูโบสถ์เป็นไม้แกะสลักลวดลายสวยงามมาก - วัดพระปรางค์มุนี ตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงหมู่ ตรงข้ามวิทยาลัยเกษตรกรรมสิงห์บุรี ห่างจากตัวเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ประมาณกิโลเมตรที่๑๓๔-๑๓๕ (ทางไปอำเภอพรหมบุรี) จะเห็นองค์พระปรางค์สี่เหลี่ยมสูงเด่นใกล้กับองค์พระปรางค์เป็น วิหารหลวงพ่อเย็น พระพุทธรูปปูนปั้นศักดิ์สิทธิ์สมัยอยุธยา ด้านข้างวิหารมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เป็นกรุพระเก่าแก่ที่ทางวัดได้ขุดดินบริเวณนั้นมากลบวิหาร ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรม อำเภอพรหมบุรี - วัดกุฎีทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ในเขตตำบลบางน้ำเชี่ยว ห่างจากถนนสายเอเชียประมาณ ๔๐๐ เมตร หรือ เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๒ กิโลเมตรที่ ๑๒๕-๑๒๖ ภายในวัดมีมณฑปลักษณะเหมือนเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง สร้างเมื่อพ.ศ.๒๔๔๓ โดยหลวงพ่อปัญญา อุตมะพิชัย เจ้าอาวาส ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้บนยอด และภายในมณฑปนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทโลหะจำลองไว้เป็นที่เคารพสักการะ นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดกุฎีทองยังมีศูนย์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยพวน ซึ่งได้รวบรวมเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวันต่างๆ ของชาวไทยพวน เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องมือ ทำนา ดักสัตว์ จับปลา ตลอดจนยวดยานพาหนะทางน้ำเป็นของเก่าแก่ไว้ให้ชม - คูค่ายพม่า ตั้งอยู่ที่บ้านเจดีย์หัก หมู่๑ ตำบลบ้านแป้ง ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรีไปประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๒ กิโลเมตรที่ ๑๒๙ เป็นแหล่งชุมชนโบราณมีลักษณะเป็นเนินดินแนวยาวรูปร่างคล้ายตัว L ยาวประมาณ ๕-๑๕ เมตร กว้างประมาณ ๓ เมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๑๒๗ ครั้งที่พม่ายกกองทัพมาตั้งที่ปากน้ำบางพุทรา เพื่อรวบรวมกำลังเข้าตีกรุงศรีอยุธยานับเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ปัจจุบันได้ปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป - วัดอัมพวัน ตั้งอยู่ที่ตำบลพรหมบุรี ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๖ กิโลเมตรที่ ๑๓๐ เป็นวัดที่มีชื่อเสียงในด้านการปฏิบัติธรรมทางวิปัสสนากรรมฐาน มีพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) เป็นเจ้าอาวาส - วัดพรหมเทพาวาส (วัดชลอน) ท่านผู้ใหญ่เล่าว่าตรงนี้น้ำเชี่ยวมาก และวนด้วย เรือขึ้นมาถึงจุดนี้จะชนกัน จึงเรียกว่า “วัดชลวน” (ชล-วน) ต่อมาออกเสียงเป็น “วัดชลอน” (ชะ-ลอน) และเป็นต้นกำเนิด “แม่ครัวหัวป่า” เมื่อครั้งก่อนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จพักแรมที่วัดพรหมสาคร เจ้าเมืองพรหมนครขอร้องชาวหัวป่าให้ช่วยกันทำกับข้าว ขนมไปถวาย เสวยแล้วพอพระทัยมาก โดยเฉพาะแกงส้มแตงกวา น้ำพริกปลาร้า จึงทรงประสาทพร “นี่แน่ะ แม่ครัวหัวป่า แม่ครัวทั้งหลาย ขออนุโมทนา ข้าพเจ้าพอใจที่ทำอาหารอร่อย อาหารดี โปรดรักษารสอาหารอย่างนี้ไว้ถึงลูกหลานนะ” ตั้งแต่นั้นมาชาวหัวป่า และเด็กเล็กๆ หัดทำกับข้าวใหม่ ๆ ก็อร่อยหมด - ไหว้พระพรหม ที่เมืองพรหม ที่เมืองพรหม บริเวณริมถนนสายเอเชีย หมายเลข 32 อ.พรหมบุรี =พระพรหม= ถือเป็นพระเจ้าผู้สร้าง ผู้ลิขิตความเป็นไปของทุกสรรพชีวิต เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ทุกผู้คน ผู้บูชาพระพรหม และทำความดี จะได้รับพรให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา พระพรหมเป็นผู้คุ้มครองคนดี และลงโทษคนกระทำบาป ผู้มีกิเลสตัณหาผู้มีจิตใจเอื้ออารี และเสียสละต่อส่วนรวมจะได้พรจากพระพรหม มีความสุขและสมปรารถนา อำเภอท่าช้าง - วัดพิกุลทอง อยู่ในเขตตำบลพิกุลทอง ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๖ กิโลเมตร อยู่ห่างจากวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหารไปประมาณ ๙ กิโลเมตร ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่อแพ (พระธรรมสิงหบุราจารย์) ภายในวัดมี พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อแพ จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ และเครื่องอัฐบริขารของหลวงพ่อแพตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นอีกด้านหนึ่งของวัดนี้มีพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี หรือ หลวงพ่อใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๑ วา ๒ ศอก ๗ นิ้ว สูง ๒๑ วา ๑ คืบ ๓ นิ้ว ภายในเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกทองคำธรรมชาติชนิด ๒๔ เค รอบๆ พระวิหารใหญ่มีวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปางประจำวันต่างๆ และพระสังกัจจายองค์ใหญ่ และบริเวณวัดยังมีสวนธรรมะ และสิ่งก่อสร้างที่สวยงามน่าสนใจ แวดล้อมด้วยบรรยากาศสงบร่มรื่น - วัดจำปาทอง ตั้งอยู่ที่ตำบลโพประจักษ์ เป็นสถานที่เก็บรักษาเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระเทพรัตน-ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อคราวเสด็จประพาสในการล่องแม่น้ำน้อย เป็นเรือมาดเก๋ง ประเภทเรือแจว ชื่อว่าเรือจำปาทองสิงห์บุรี นอกจากนั้นภายในวัดมีพระนอนองค์ใหญ่ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ อำเภอค่ายบางระจัน - อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน และอุทยานค่ายบางระจัน อยู่ห่างจากตัวเมือง ๑๕ กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๐๓๒ มีพื้นที่ประมาณ ๑๑๕ ไร่ เป็นสวนรุกขชาติพักผ่อนหย่อนใจ จะเห็นอนุสาวรีย์ วีรชนค่ายบางระจันเป็นรูปหล่อประติมากรรมของหัวหน้าชาวค่ายบางระจันทั้ง ๑๑ คน สร้างโดยกรมศิลปากรปรากฏสวยเด่นเป็นสง่าอยู่ในสวน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงเปิดอนุสาวรีย์นี้ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๑๙ ค่ายบางระจันมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ผืนแผ่นดินแห่งนี้ได้บันทึกเหตุการณ์ความกล้าหาญ และเสียสละของวีรชนไทยที่เกิดขึ้น เมื่อเดือน ๓ ปีระกา พ.ศ. ๒๓๐๘ ในครั้งนั้นชาวบ้านบางระจันได้รวมพลังกันต่อสู้กับกองทัพพม่า ซึ่งมีจำนวนมากมายมหาศาล โดยพม่าต้องยกทัพเข้าตีหมู่บ้านนี้ถึง ๘ ครั้ง ใช้เวลา ๕ เดือน จึงเอาชนะได้เมื่อวันจันทร์แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ นับเป็นอนุสาวรีย์ที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง ค่ายบางระจันในปัจจุบันได้สร้างจำลองโดยอาศัยรูปแบบค่ายในสมัยโบราณ และภายในบริเวณยังมี อาคารศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์วีรชนค่ายบางระจัน จัดห้องนิทรรศการโดยแบ่งออกเป็นห้องต่างๆ ห้องแรก แสดงเรื่องค่ายบางระจัน เครื่องใช้โบราณ แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย หนังใหญ่ ห้องที่สอง จัดแสดงมรดกเมืองสิงห์บุรี ห้องที่สาม แสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองสิงห์บุรีและของดีเมืองสิงห์บุรี เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. - วัดโพธิ์เก้าต้น หรือ วัดไม้แดง ตั้งอยู่ที่หมู่ ๘ ตำบลบางระจัน ตรงข้ามกับอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๕ กิโลเมตร เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๐๓๒ เป็นสถานที่ที่วีรชนชาวบ้านบางระจันได้เคยใช้เป็นที่มั่นในการต่อต้านพม่าที่ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อปีพ.ศ. ๒๓๐๘ ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า “วัดไม้แดง” เพราะภายในบริเวณมีต้นไม้แดง ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งอยู่หลายต้น และชาวบ้านถือกันว่าเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ไม่มีใครกล้าตัด หรือ ทำลาย ในบริเวณวัดมี “วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ” เป็นวิหารทรงจัตุรมุข พระอาจารย์ท่านเป็นผู้นำสำคัญผู้หนึ่งของชาวบ้านบางระจัน และใกล้ๆ กันก็มี สระน้ำพระอาจารย์ธรรมโชติ มีปลาอยู่ชุกชุมเพราะชาวบ้านถือว่าเป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ จึงไม่จับไปรับประทานและยังมีศาลรวมวิญญาณวีรชนค่ายบางระจันตั้งอยู่ใกล้ริมรั้ว ส่วนหน้าวัดได้มีการจำลองค่ายบางระจันตามประวัติศาสตร์ไว้ด้วย กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดโพธิ์เก้าต้นเป็นโบราณสถาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ - วัดสิงห์สุทธาวาส ตั้งอยู่ตำบลโพสังโฆ เดิมชื่อว่าวัดตะเคียน เพราะมีต้นตะเคียนอยู่เป็นสัญลักษณ์ เริ่มก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๑ ต่อมาทางราชการย้ายเมืองสิงห์ จากแม่น้ำจักรสีห์มาตั้งอยูริมแม่น้ำน้อย ทางด้านใต้ของวัดตะเคียน และคงจะเปลี่ยนชื่อช่วงต่อมา เรียกกันตามชื่อเมืองว่า "วัดสิงห์" ครั้นถึงสมัยของพระมหาเนี่ยมเกิดเมฆเป็นเจ้าอาวาสจึงต่อคำท้ายเป็น "วัดสิงห์สุทธาวาส" ปัจจุบันวัดสิงห์สุทธาวาสมี พระครูวิสุทธาภิรักษ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสท่านได้ปรับปรุงบริเวณวัดอย่างเป็นสัดส่วนชัดเจน โดยแบ่งเป็นเขตพุทธาวาส สังฆาวาส ภายในวัด และรอบๆ บริเวณวัด จัดบรรยากาศร่มรื่น สวยงาม โดยจัดสวนหย่อมปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ รอบบริเวณวัด ตามต้นไม้จะมีสุภาษิต คติธรรม (ต้นไม้พูดได้) เพื่อไว้เป็นคติสอนใจ มีปูชนียวัตถุ คือพระพุทธฉาย อยู่ในมณฑปพระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างด้วยศิลา ชาวบ้านเรียก "หลวงพ่อนาค" องค์พระเป็นหินสกัดมีพญานาค ๗ เศียร แผ่รัศมีรอบเกศพระ ด้านหลังองค์พระมีเสมาธรรมจักร แต่ปัจจุบันหลวงพ่อนาคได้ถูกขโมยไป ดังนั้นหลวงพ่อนาคที่เห็นอยู่นี้เป็นองค์จำลองที่ทำจากปูนปั้นนอกจากนี้ยังพบ สิงห์ปั้นด้วยดินเผาอยู่ ๒ ตัว สันนิษฐานว่า สิงห์ที่พบนี้เป็นที่มาของชื่อ "วัดสิงห์" ซึ่งต่อขุนสิงขรภุมมา ได้ขอไปไว้ที่อำเภอบางระจัน (ซึ่งสมัยนั้นชื่อ อ.สิงห์) ๑ ตัว ปัจจุบันยังมีอยู่ที่ หน้าที่ว่าการอำเภอบางระจัน อำเภอบางระจัน - วัดพระปรางค์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ บ้านโคกหม้อ ตำบลเชิงกลัด ภายในบริเวณวัดมีพระปรางค์ศิลปะแบบอยุธยาตอนต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๑ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช องค์ปรางค์สูงประมาณ ๑๕ เมตร ก่อด้วยอิฐแบบปรางค์ไทยสูงชะลูดคล้ายฝักข้าวโพด ฐานเตี้ย ภายในกลวงมีคูหาสี่เหลี่ยมจตุรัสบนผนังคูหา และปัจจุบันร่องรอยภาพจิตรกรรมฝาผนังได้ลบเลือนไปแล้ว ด้านหลัง มีพระอุโบสถเก่าแก่แบบอยุธยา หน้าบันเป็นลายแกะสลักไม้รูปตัวสิงห์ และคันทวยต่างๆมีภูเขาและรอยพระพุทธบาทจำลองบนยอดเขา นอกจากนั้นยังปรากฏร่องรอยของเตาเผาแม่น้ำน้อย ประมาณ ๓-๔ เตา วัดพระปรางค์ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๘๗ - แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระปรางค์ (ชัณสูตร) เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๔-๒๓๑๐ ลักษณะตัวเตาเป็นแบบระบายความร้อนเฉียงขึ้น ก่อด้วยอิฐ ตัวเตาบางส่วนคล้ายเรือประทุนจึงเรียก “เตาประทุน” แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ ปล่องไฟ ห้องวางเครื่องปั้นดินเผา และห้องเชื้อเพลิงตัวเตาเผาที่นับว่ามีขนาดใหญ่ มีความยาวถึง ๑๔ เมตร กว้าง ๕.๖๐ เมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางของปล่องควันไฟยาว ๒.๑๕ เมตร เคยใช้เป็นที่ผลิตภาชนะดินเผา เช่น ไห อ่าง ครก กระปุก ช่อฟ้า กระเบื้องปูพื้น เป็นต้น - อุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลทับยา มีพื้นที่อยู่ในเขตอำเภออินทร์บุรีและอำเภอบางระจัน ห่างจากอำเภอเมืองไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๑๑ (สายสิงห์บุรี-ชัยนาท) ประมาณ ๙ กิโลเมตร จะมีทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าหมู่ ๗ ตำบลบางกระบือ ประมาณ ๒ กิโลเมตร หรือ เข้าทางตำบลทับยา ประมาณ ๑.๒ กิโลเมตร ก็จะถึงอุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์ คำว่า “แม่ลา” เป็นชื่อลำน้ำสายหนึ่งในท้องที่จังหวัดสิงห์บุรีไหลผ่านพื้นที่ ๓ อำเภอ คือ อำเภออินทร์บุรี อำเภอบางระจัน และอำเภอเมืองสิงห์บุรี เป็นลำน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารของปลา ฉะนั้น ปลาที่จับได้จากลำน้ำแม่ลาจึงมีรสชาติอร่อย อ้วน เนื้อนุ่ม มัน โดยเฉพาะปลาช่อนแม่ลา ซึ่งเป็นอาหารและของฝาก ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสิงห์บุรี และมีอุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์ริมฝั่งแม่น้ำลาการ้อง อำเภออินทร์บุรี - วัดสุทธาวาส หรือ วัดใหม่ ตั้งอยู่ที่ตำบลทับยา ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 311 เส้นสิงห์บุรี-อินทร์บุรี กิโลเมตรที่ ๑๑-๑๒ เลยจากวัดกระดังงาบุปผารามไปประมาณ ๕ กิโลเมตร หรือ ห่างจากที่ว่าการอำเภออินทร์บุรีไปทางทิศใต้ประมาณ ๓.๕ กิโลเมตร มีวิหารหลังเก่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติพระจุฬามณี วาดด้วยช่างฝีมือชั้นครู เป็นภาพตอนพระพุทธองค์ทรงออกบรรพชา ภาพตอนผจญมาร ภาพตอนพระพุทธองค์ฉันอาหารที่นายจุนทะถวาย ทรงประชวรแล้วเสด็จไปประทับ ณ ต้นรังคู่ เสด็จสู่ปรินิพพาน และภาพเรื่องราวของการถวายพระเพลิง การแจกจ่ายพระอัฐิธาตุแก่เหล่ากษัตริย์และเทวดา บนหน้าบันเป็นภาพบรรจุพระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้าลอยในน้ำ นับเป็นโบราณสถานที่มีความงดงามและมีคุณค่าอีกแห่งหนึ่ง - วัดโบสถ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลอินทร์บุรี ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข๓๑๑ เส้นสิงห์บุรี-อินทร์บุรี (สายเก่า) กิโลเมตรที่ ๑๔-๑๕ ไปประมาณ ๑๖ กิโลเมตร เป็นพระอารามหลวง เดิมเป็น วัดร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาส่วนพระอุโบสถเป็นเพียงแห่งเดียวที่สร้างโดยใช้รางรถไฟเป็นแกนกลางข้างล่าง และที่น่าสนใจ คือ การแกะสลักบานประตูหน้าต่างโบสถ์ทั้งหลัง โดยช่างที่มีฝีมือแกะสลักของเมืองสิงห์บุรี คือ ช่างชื่น หัตถโกศล ภายในโบสถ์มีพระประธานที่เก่าแก่ พุทธลักษณะที่งดงามมาก ปัจจุบันโบสถ์แห่งนี้ได้รับการบูรณะใหม่ - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับวัดโบสถ์ ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดโบสถ์มาก่อน ก่อตั้งโดยอดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ พระเทพสุทธิโมลี เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี และอุทัยธานีได้รวบรวมจัดเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ มีโบราณวัตถุที่สำคัญและเป็นที่รวมความรู้ด้านประวัติศาสตร์ เช่น โบราณวัตถุที่ขุดพบได้จากแหล่งโบราณบ้านคูเมือง แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย จัดแสดงเครื่องประดับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ พัดยศ พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ เครื่องถ้วยศิลปะไทย-จีน เครื่องดนตรีไทย ส่วนชั้นล่าง เป็นการละเล่นพื้นบ้าน เครื่องมือดักปลา เครื่องทอผ้า ตะเกียงโบราณ - เมืองโบราณบ้านคูเมือง (อยู่ภายในสวนรุกขชาติคูเมือง) ตั้งอยู่ที่บ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน ภายในสวนรุกขชาติคูเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๒๓ กิโลเมตร สันนิษฐานว่าเป็นชุมชนโบราณสมัยทวาราวดี ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมน กว้าง ๖๕๐ เมตร ยาว ๗๕๐ เมตร สูงจากพื้น ๑ เมตร มีเนินดินขนาดใหญ่ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ มีการขุดค้นพบภาชนะดินเผามากมาย เช่น เครื่องถ้วยชาม หม้อ ไห กาน้ำ ลูกปัดหินสีต่าง ๆ ตะคันดินเผา ธรรมจักรหินเขียว ตุ้มหู ลูกปัด หินสี และเหรียญเงินมีคำจารึกว่า “ศรีทวารวดีศวรปุญยะ” แสดงให้เห็นว่ามีชุมชนอาศัยอยู่ ในบริเวณนี้ติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยฟูนันจนถึงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันวัตถุโบราณที่ค้นพบได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี และภายในบริเวณเมืองโบราณบ้านคูเมืองปัจจุบันได้จัดให้เป็นสวนรุกขชาติ มีเนื้อที่ประมาณ ๕๐๐ ไร่ มีคูน้ำโบราณล้อมรอบ มีพันธุ์ไม้ต่างๆ ร่มรื่นสวยงาม - วัดม่วง ตั้งอยู่ที่ตำบลอินทร์บุรี ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา หากมาจากถนนสายเอเชีย ห่างจากตัวตลาดอินทร์บุรี มีทางเลี้ยวซ้ายไปประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นประมาณปี พ.ศ. ๒๓๖๕ เดิมนั้นมีต้นมะม่วงอยู่มาก จึงเรียกว่า “วัดม่วง” ภายในวัดมีวิหารเก่าแก่เป็นอาคารปูนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีมุขยื่นออกมาที่หน้าบันประดับด้วยภาชนะเครื่องถ้วยต่างๆ ในวิหารมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระประธานที่พุทธลักษณะงดงาม ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีรูปฐานสิงห์ มีฐานบัวขนาดใหญ่รองรับ เพดานประดับด้วยลายเขียนรูปดาว มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนด้วยสีฝุ่น ฝีมือช่างพื้นบ้านสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ และมีเรื่องราวพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนแสดงภาพชีวิตความเป็นอยู่วัฒนธรรมของสังคมโบราณในระดับต่างๆ ได้เป็นอย่างดี - ไหว้พระอินทร์ที่เมืองอินทร์ ในบริเวณ FN Factory outlet หมู่ 1 ตำบลน้ำตาล อำเภออินทร์บุรีพระอินทร์เป็นมหาเทพที่ยิ่งใหญ่เหนือชีวิตของมนุษย์ และสรรพสัตว์มีหน้าที่ปกป้องดูแลโลกให้พ้นจากสิ่งเลวร้ายต่างๆ เป็นผู้นำเหล่าเทพเจ้าไปกำจัดอสูรร้ายในหลายคราว หากคนดีมีเคราะห์ร้ายพระอินทร์จะลงมาช่วยทุกครั้งไปมีฐานะเป็นพระผู้ดูแลทุกข์สุขของมนุษย์โลก ดินฟ้าอากาศและสงคราม และยังเป็นเทพนักสังคมสงเคราะห์ คนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า อำนาจของพระอินทร์นั้น จะช่วยปัดเป่าความชั่วร้าย หรือสิ่งไม่ดีบริเวณนั้น พร้อมทั้งปกป้องรักษาธุรกิจให้เจริญรุ่งเรือง รวมถึงคุ้มครองผู้บูชาในศาสนาพุทธ พระอินทร์ ยังเป็นเทพผู้รักษาพระพุทธศาสนาให้อยู่ยืนยงถึง 5,000 ปี เนื่องจากพระอินทร์เป็นเทวกษัตริย์ หมายถึงเป็นราชาแห่งเหล่าทวยเทพ จึงมีอำนาจในการสั่งการ ทำลายผู้ที่จะนำพาพระพุทธศาสนาไปในทิศทางที่ไม่ดี เทศกาลงานประเพณี - งานวันวีรชนค่ายบางระจัน จัดขึ้นเป็นประจำในระหว่างวันที่ ๔-๖ กุมภาพันธ์ของทุกปี ที่บริเวณอนุสาวรีย์วีรชนและอุทยานค่ายบางระจัน ตำบลบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน ประกอบไปด้วยพิธีสักการะรูปจำลองพระอาจารย์ธรรมโชติ และวางพวงมาลาสักการะอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน การแสดงละครประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวีรกรรมของวีรชนค่ายบางระจัน ประกอบแสง สี เสียง การละเล่นพื้นบ้าน มหรสพ การแสดงนิทรรศการของดีเมืองสิงห์ต่าง ๆ มากมาย - ประเพณีกำฟ้า เป็นงานบุญพื้นบ้านของชาวไทยพวนที่บ้านบางน้ำเชี่ยว และหมู่บ้านโภคาภิวัฒน์ อำเภอพรหมบุรี จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาและระลึกถึงเทพยดาผู้รักษาฟากฟ้า และบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ถือเอาวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓ เป็นวันสุกดิบ โดยชาวบ้านจะช่วยกันตำข้าวปุ้น (ขนมจีน) และข้าวจี่ ข้าวหลามไว้สำหรับทำบุญตักบาตรในวันรุ่งขึ้น พิธีจะมีในตอนเย็น เรียกกันว่า “ไปงันข้าวจี่” ชาวบ้านจะนำข้าวสารเหนียว ไข่ น้ำตาล ไปเข้ามงคลในพิธีเจริญพุทธมนต์ กลางคืนจะมีมหรสพแสดงกันเป็นที่สนุกสนาน ตกดึกจะพากันนึ่งข้าวเหนียว ทำขนม ในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งเป็นวันกำฟ้า ชาวบ้านก็จะนำไทยทานและอาหารที่เตรียมไว้ไปร่วมทำบุญที่วัด เมื่อพ้นกำฟ้า ๗ วันแล้ว จะต้องกำฟ้าอีกครึ่งวัน และนับต่อไปอีก ๕ วัน จะมีการจัดอาหารถวายพระ เสร็จแล้วนำไฟดุ้นหนึ่งไปทำพิธีเลียแล้ง โดยการนำไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง ถือเป็นการบูชาและระลึกถึงเทพเจ้าเป็นอันเสร็จพิธีกำฟ้า - ประเพณีตีข้าวบิณฑ์ เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ทำกันอยู่แห่งเดียวที่หมู่บ้านจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรีนิยมทำในช่วงวันสงกรานต์ ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน ของทุกปี ชาวบ้านจะนัดกันทำพิธีโดยการนำข้าวเหนียว หรือ ข้าวเหนียวแดงมาหุง หรือ นึ่งพอสุกนำมาใส่ใบตองพับเป็นรูปกรวย นำไปถวายหลวงพ่อพระนอนจักรสีห์ที่วัดพระนอนจักรสีห์ด้วยการนำพานใส่กรวยข้าวเหนียวที่เตรียมวางไว้ด้านหน้าองค์พระนอน เพื่อทำพิธีถวายข้าวเหนียว เมื่อเห็นว่าเวลาผ่านไปพอสมควรจะทำพิธีลาข้าว ทุกคนจะตรงไปที่พานข้าวของตน แบ่งข้าวเหนียวในกรวยใส่กระทง แล้วนำไปวางไว้ที่หน้าองค์พระนอนพอเป็นสังเขป จากนั้นชาวบ้านจะแยกกันนั่งเป็นวง ๆ ละ ๖-๗ คน แบ่งกันรับประทานข้าวที่เหลือ ซึ่งถือว่าเป็นข้าวบิณฑ์ของหลวงพ่อพระนอนจักรสีห์ - ประเพณีกวนข้าวทิพย์ การกวนข้าวทิพย์ หรือ ข้าวมธุปายาสนี้มักจะจัดขึ้นที่หมู่บ้านวัดกุฎีทองบ้านโภคาภิวัฒน์ วัดอุตมะพิชัย อำเภอพรหมบุรี วันทำพิธีกวนข้าวทิพย์มิได้กำหนดไว้เป็นที่แน่นอนมักจะทำกันในช่วงข้าวกำลังเป็นน้ำนม โดยการปลูกปะรำพิธีแล้วใช้ด้ายสายสิญจน์วนรอบปะรำพิธี นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ แล้วให้หญิงสาวพรหมจารีนำเครื่องปรุงข้าวทิพย์ต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ ๙ สิ่ง ได้แก่ ถั่ว งา นม เนย น้ำตาล มะพร้าว น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และน้ำที่คั้นได้ จากข้าวน้ำนมใส่ลงในกระทะที่ใช้ไฟสุมเพลิงจากดวงอาทิตย์ติดไฟด้วยฟืนไม้ชัยพฤกษ์ และไม้พุทรา ขณะใส่ของต่างๆ ลงในกระทะพระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา ย่ำฆ้อง ย่ำกลอง การจัดพิธีกรรมยังคงรักษารูปแบบเดิมไว้ คือ มีพราหมณ์เข้าพิธี และสาวพรหมจารีที่จะเข้าร่วมพิธีต้องเป็นหญิงสาวที่ยังไม่มีดอกไม้ (ระดู) นุ่งขาวห่มขาว สมทานศีล ๘ เพื่อให้มีความบริสุทธิ์ทั้งกายและใจ จากนั้น จึงช่วยกันกวนข้าวทิพย์ใช้เวลากวนประมาณ ๖ ชั่วโมง เสร็จแล้วตักใส่ภาชนะเตรียมถวายพระในวันรุ่งขึ้น - ประเพณียายดอกไม้ (ตักบาตรดอกไม้) เป็นงานบุญเข้าพรรษาประจำตำบลบ้านแป้ง อำเภอพรหมบุรี ณ วัดจินดามณี โดยจะมีการจัดกิจกรรมฟื้นฟูประเพณียายดอกไม้ (ตักบาตรดอกไม้) ในช่วงวันเข้า พรรษาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งเป็นประเพณีท้องถิ่นดั้งเดิมของชุมชนชาวบ้านเวียงจันทร์ที่เป็นบรรพบุรุษของชุมชนในตำบลบ้านแป้ง ตั้งแต่ปู่ย่าตายายให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของพุทธศาสนิกชน ชาวตำบลบ้านแป้ง ซึ่งประเพณีนี้เป็นประเพณีดั้งเดิมที่มีกันมานานเป็นร้อยปีแล้ว และเพื่อที่จะให้ประเพณีนี้ยังอยู่กับเราไปนานๆ จึงได้กำหนดวันเข้าพรรษาให้เป็นวันตักบาตรดอกไม้ ทางวัดในหมู่บ้านจะมีการตีกลองแฉะ ประมาณครึ่งชั่วโมง ญาติโยมพี่น้องก็จะพาลูกหลานมาที่วัด จัดข้าวตอกดอกไม้ 5 ชนิด คือ ข้าวตอก ดอกมะลิ ดอกรัก ดอกบัว ดอกข้าวโพด ธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม จัดเป็นกำใส่บาตรพระ เพื่อใช้เข้าอุโบสถ เป็นพุทธบูชา - การแข่งเรือยาวประเพณี การแข่งขันเรือยาวจัดขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนกันยายนของทุกปีที่บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ริมเขื่อนหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ตลอดจนบริเวณลำแม่น้ำน้อย ตามที่หน่วยงาน หรือ ภาคส่วนต่างๆ กำหนดจัดขึ้น ซึ่งมีเรือที่มีชื่อเสียงของจังหวัดต่างๆ ส่งเข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นับเป็นงานประเพณีที่ตื่นเต้นสนุกสนาน และเร้าใจ ตลอดจนได้เพลิดเพลินกับความสวยงามของเรือแต่ละลำที่ตกแต่งลวดลายและประชันฝีพายกันอย่างเต็มที่ - งานเทศกาลกินปลาและของดีเมืองสิงห์บุรี จัดขึ้นประมาณปลายเดือนธันวาคมของทุกปีเนื่องจากจังหวัดสิงห์บุรีมีลำน้ำแม่ลาเป็นลำน้ำธรรมชาติที่มีปลาชุกชุม และมีชื่อเสียงมาก คือ ปลาช่อนแม่ลา ซึ่งเป็นอาหารจานเด็ดของสิงห์บุรี นอกจากนี้สิงห์บุรียังเป็นถิ่นกำเนิดของแม่ครัวหัวป่า ต้นตำรับอาหารคาวหวานที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ ๕ อีกด้วย - ประเพณีสงกรานต์ภาคกลาง จัดบริเวณวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร อำเภอเมืองสิงห์บุรี โดยมีกิจกรรมเด่นอาทิ ประกวดควายไทยเขางาม สงกรานต์ชายหาด การแสดง แสง สี เสียง “ตำนานพระนอน” ร่วมรับประทานอาหารขันโตก พิธีอัญเชิญห่มผ้าพระนอน พิธีตีข้าวบิณฑ์ กินข้าวหัวป่า กตัญญูกตเวทิตาผู้ใหญ่ ก่อพระเจดีย์ทรายพุทธบูชา เป็นต้น การแข่งขันเรือมาศ 12 ฝีพาย (เยาวชน ชาย – หญิง) การแข่งขันเรือแจวเดี่ยว (ทั่วไป) การแข่งขันเรื่อพายหัวใบ้ท้ายบอด การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน พิธีสรงน้ำพระนอนจักรสีห์จำลอง และสงฆ์น้ำพระภิกษุสงฆ์จากทุกวัดในจังหวัดสิงห์บุรี การประกวดเทพีสงกรานต์ ตลาดนัดลานวัดของดีเมืองสิงห์ วัดพระนอน “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” - ประเพณีลาวแง้ว คือ ประเพณีเพาะกระจาด หรือใส่กระจาด ของชาวตำบลทองเอน อ.อินทร์บุรี โดยการใส่กระจาดจะเริ่มเมื่อมีการประกาศ กำหนดงานบุญมหาชาติ ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะกำหนดไม่ตรงกัน หมู่บ้านใดตรงถึงวันกำหนดวันทำบุญ แต่ละบ้านจะทำขนมเส้นหรือขนมจีบ และข้าวต้มมัดเพื่อเตรียมไว้สำหรับวันงานวันเริ่มแรกของการทำบุญ เรียกว่า "วันตั้ง" ในวันตั้งนี้หมู่บ้านที่ยังไม่ทำบุญก็จะนำผลไม้ เช่น กล้วย อ้อย ส้ม ฯลฯ ไปยังบ้านที่มีงานโดยหนุ่มสาวจะแต่งตัวสวยงามเดินทางเป็นกลุ่มๆ การร่วมงานบุญ นั้นอาจใช้ผลไม้ต่างๆ ที่นำมาหรือเงินก็ได้ และอาจมีธูปเทียนใส่พานนำไปให้เจ้าของบ้าน การนำเอาของมาร่วมสมทบทำบุญ เรียกว่า "ใส่กระจาด" เจ้าของบ้านเลี้ยงอาหารแก่แขก และเมื่อแขกกลับก็จะให้ข้าวต้มมัดเป็นของตอบแทน ประเพณีการใส่กระจาดนี้ หนุ่มสาวจะได้มีโอกาสพบปะ พูดคุยกันโดยพ่อแม่ฝ่ายหญิงไม่ขัดขวาง วันรุ่งขึ้นจากวันตั้งก็จะเป็นวันเทศน์มหาชาติโดยแต่ละบ้านจะจับสลากกันว่าบ้านไหนจะได้ติดกัณฑ์เทศน์มหาชาติกัณฑ์ไหน สถานที่ก็จัดเตรียมและตกแต่งอย
weekend แนะนำที่พักในจังหวัดสิงห์บุรี
อำเภออินทร์บุรีรอปรับปรุง
อำเภอพรหมบุรีรอปรับปรุง
อำเภอท่าช้างรอปรับปรุง
อำเภอบางระจันรอปรับปรุง
อำเภอค่ายบางระจันรอปรับปรุง
แนะนำที่พักในจังหวัดสิงห์บุรี
อำเภออินทร์บุรี

รอปรับปรุง
อำเภอพรหมบุรี

รอปรับปรุง
อำเภอท่าช้าง

รอปรับปรุง
อำเภอบางระจัน

รอปรับปรุง
อำเภอค่ายบางระจัน

รอปรับปรุง
check_circle แนะนำร้านอาหารในจังหวัดสิงห์บุรี
แนะนำร้านอาหารรอปรับปรุง
แนะนำร้านอาหารในจังหวัดสิงห์บุรี
แนะนำร้านอาหาร

รอปรับปรุง
check_circle วัฒนธรรม คุณธรรมในองค์กร
วัฒนธรรม คุณธรรมในองค์กรรอปรับปรุง
วัฒนธรรม คุณธรรมในองค์กร
วัฒนธรรม คุณธรรมในองค์กร

รอปรับปรุง
check_circle แนะนำคาเฟ่และร้านกาแฟในจังหวัดสิงห์บุรี
แนะนำคาเฟ่ และร้านกาแฟในจังหวัดสิงห์บุรี

















































business_center แนะนำร้านของฝากในจังหวัดสิงห์บุรี
แนะนำร้านขายของฝาก จังหวัดสิงห์บุรี